วิจารณ์หนัง : BLOOD DIAMOND

วิจารณ์หนัง : BLOOD DIAMOND

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
Blood Diamond ประสบปัญหาว่าด้วยความยาว โดยแท้แม้หนังมีประเด็นทางการเมืองเข้ามารบกวน และมีมุมมองหยั่งลึกทางสังคมวิทยาจำนวนมาก แต่เรื่องเกี่ยวกับการผจญภัยกลับน่าเบื่อและสูญเสียจังหวะการเคลื่อนไหวไปเสียเอง ตัวละครหลักนั้น ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ รับบทได้อย่างน่าเชื่อถือส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมันไม่ได้ห่างไกลจากธรรมชาติการแสดงของเขาเลย แต่มันใช้เวลานานพอดูในการเข้าถึงห้วงเวลาอันน่าจดจำของเขาในหนัง ถ้าไม่พูดถึงประเด็นในหนังแล้วนี่คือหนังที่มีใครสร้างดีอีกเรื่อง และเป็นหนังของผู้กำกับที่เข้าใจดีว่าจะทำหนังให้คนจดจำได้อย่างไร มันจะดูยิ่งใหญ่ชวนฮึกเหิม ถ้าเพียงคนสร้างอย่าง เอ็ตเวิร์ด ซวิค จะเล็มบทหนังและตัดต่อให้มันสั้นกว่านี้อีกหน่อย แน่นอนมันจะกลายเป็นหนังที่ยอดเยี่ยม มากกว่าเป็นหนังในระดับที่ต้องแนะนำอย่างเสียไม่ได้เช่นนี้ เรื่องเกิดขึ้นในปี 1999 ที่เซียร่า ลีโอเน่ ตอนนั้นประเทศกำลังยุ่งเหยิงด้วยภาวะสงครามกลางเมือง การต่อสู้นี้ทำให้ยากจะคาดคิดว่าฝ่ายไหนแย่กว่ากันระหว่างรัฐบาลกับกบฏ และตามที่มักปรากฏในหนังแบบนี้คือมันชุ่มโชกด้วยเลือด มีชาวนาและชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ตกอยู่ท่ามกลางการต่อสู้ ถือได้ว่าเพชรคือหนึ่งในสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากที่สุดของประเทศ มันถูกลักลอบนำออกและซื้อขายในตลาดทั่วไป แม้ว่าจะถูกสั่งห้ามในระดับนานาชาติและโดนเรียกว่าเป็น เพชรเถื่อน หรือ เพชรเลือด ปูมหลังทางประวัติศาสตร์นี้ ( ซึ่งของจริงซับซ้อนกว่าในหนังอีก ) เป็นเรื่องจริง เพียงแต่ตัวละครหลักทั้ง 3 นั้นแต่งเติมเสริมขึ้นมาใหม่ โซโลมอน แวนดี้ ( ดจิมอน ฮอนซู ) คือสามีเละพ่อที่ดี เขาอาศัยอยู่อย่างสงบสุขในฟาร์มอันห่างไกลจากโลกภายนงเซียร่า ลีโอเน่ เขาส่งลูกชายคนเล็ก ดียา ( คารูโซ่ คายเพอร์ส ) ไปโรงเรียนเพื่อศึกษาภาษาอังกฤษเพื่อที่หนุ่มน้อยจะโตขึ้นมามีชีวิตที่ดีกว่า วันหนึ่งความเลวร้ายเดินทางมาถึงหมู่บ้านของเขา เมื่อกบฏเดินทางมาถึงและฆ่าหรือไม่ก็จับตัวแทบทุกคนที่อยู่ที่นั่นไป เขาถูกพรากจากครอบครัวและถูกส่งตัวไปทำงานขุดหาเพชรรวมกับคนอื่นๆ ในครั้งหนึ่งขณะที่เขากำลังขุดหาในก้นแม่น้ำตื้นๆ เขาพบเพชรสีชมพูซึ่งมีขนาด 100 กะรัต เขาเริ่มซ่อนมันด้วยการฝังเอาไว้ จากนั้นไม่นานเขาถูกจับช่วงที่รัฐบาลเข้าจู่โจมและไปอยู่ในคุก ขณะอยู่ที่นั่นเขาได้พบกับนายพรานหนุ่มชาวแอฟริกาใต้ แดนนี่ อาร์เชอร์ ( ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ) ซึ่งมาตกลงกับเขาว่า ถ้าได้เพชรมาเขาจะช่วยให้แวนดี้ได้พบเจอกับลูกเมีย จากนั้นอาร์เชอร์ไปขอความช่วยเหลือจากนักข่าวชาวอเมริกา แม้ดดี้ บราวน์ ( เจนนิเฟอร์ คอนเนลลี่ ) ซึ่งราคาที่ต้องจ่ายสำหรับการช่วยเหลือก็คือ การเปิดเผยว่า เพชรสกปรก ดังกล่าวนั้นถูกซักฟอกให้กลายเป็น เพชรสะอาด ในตลาดโลกได้อย่างไร และพ่อค้าเพชรในลอนตอนเข้ามากระทำผิดจำนวนมากน้อยเท่าใด... ในช่วง 45 นาทีแรกของหนัง มันดูจะธรรมชาติสามัญเกินไป หนังอย่างนี้ต้องทำให้คนดูสนใจด้วยการเล่าเรื่องอย่างหนักแน่นเร้าอารมณ์ และเมื่อฉากแอ็คชั่นผจญภัยเริ่มขึ้น หนังก็เริ่มเดินหน้าเข้าสู่ความตื่นเต้น ทว่ายังมีบางช่วงที่หนังไม่คืบหน้าไปไหน ผู้กำกับ เอ็ดเวิร์ด ซวิค ( Glory, The Last Samurai ) ไม่ใช่คนแปลกหน้าสำหรับหนังมหากาพย์ เพียงแต่หนังเรื่องนี้อาจจะแตกต่างจากเรื่องอื่นๆ ตรงที่ มันทำให้เรารู้สึกว่าหนังยาวเหลือเกินระว่างที่ชม หนังไม่ประนีประนอมในการพรรณนาให้เห็นความขัดแย้งภายในเซียร์ร่า ลีโอเน่ ( เหมือนที่เรามักเห็นในรายงานข่าวความขัดแย้งภายในทวีปแอฟริกา ) เราเห็นการสังหารหมู่ผู้บริสุทธิ์ทั้งรัฐบาลและกบฏต่างก็เข้ามาจัดการกับเด็ก สตรี และบุรุษอย่างไม่เลือกหน้า เราเห็นพวกเด็กหนุ่มเข้าสู่วังวนของการทรมานและใช้ยา จากนั้นก็กลายเป็นนักฆ่า นับว่าลัทธิรักชาตินั้นมีค่าเท่ากับจำนวนศพที่สังหารได้ หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จในการพรรณนาการฉ้อราษฎร์บังหลวงของคนบริสุทธิ์เท่ากับการแสดงให้เห็นรักของสงคราม นอกจากนี้ยังเน้นย้ำความละโมบและการชักใยของตลาดเพชรนานาขาติอีกด้วย ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ แสดงได้ดี เขาเติบโตขึ้นเมื่อได้เล่นบทหินเช่นนี้ และดูน่าเชื่อถือกว่าการเข้าสู่ด้านมืดของ The Departed เสียอีก ไม่น่าเชื่อว่าเขาคือไอ้หนุ่มที่ทำให้สาวๆ แทบคลั่งตายเมื่อ 10 ปี ที่แล้ว ส่วน ดจิมอน ฮอนซู ดูดุเดือดพลุ่งพล่านกับบทของเขา ขณะที่ เจนนิเฟอร์ คอนเนลลี่ ทำได้ดีที่สุดแล้วในบทเล็กน้อยที่เธอได้รับ ห้วงขณะที่เธอเข้าคู่กับดิคาปริโอถือว่าเป็นส่วนที่น่าจดจำ โดยภาพรวมแล้ว นังพอแนะนำให้ไปดูกันได้ แม้ว่ามันจะมีจุดบกพร่องเรื่องความยาวอยู่มาก และไม่ใช่หนังที่ดีที่สุดของ เอ็ดเวิร์ด ซวิค ก็ตาม CRITICS' AVERAGE : B ข้อมูลจากนิตยสาร Starpics ฉบับวันที่ 1 ธันวาคม 2549

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ วิจารณ์หนัง : BLOOD DIAMOND

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook