อำลา อาลัย ปิดตำนาน โรงหนังสยาม

อำลา อาลัย ปิดตำนาน โรงหนังสยาม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในวันที่ 19 พ.ค. เวลา 15.45 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า...เกิดเหตุเพลิงไหม้ โรงภาพยนตร์สยามตรงข้ามสยามพารากอน โดยอาคารเริ่มทรุด และพังถล่มลงมาแล้ว ไม่เหลือเค้าโครงของโรงภาพยนตร์ ...ในวันนั้นเองที่โรงหนังสยาม แหล่งท่องเที่ยวสุดฮิตของคนเมืองกรุง ต้องปิดตำนานลง และเหลือไว้แต่ซากความปวดร้าว ...วันนี้เรามารื้อฟื้นประวัติของโรงหนังสยาม ที่เหลือเพียงความทรงจำ กันหน่อยดีกว่าค่ะ เดิมแต่แรกตอนเริ่มต้นก่อสร้างใหม่ ๆ บริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัยจำนวนมาก ยังไม่มีร้านค้าใดเลย สมัยที่โรง ภาพยนตร์โรงแรกเสร็จ ยังต้องส่งปิ่นโตให้กับพนักงานทาน เพราะแถวนี้ไม่มีร้านอาหารเลย จะต้องไปไกลถึง สามย่าน ซึ่งสมัยนั้นกว่าจะถึงสามย่าน ก็ต้องใช้เวลานานมากมีรถเมล์น้อยสาย ไม่ทันที่จะกลับมาทำงาน ตามรอบ ได้ทันเวลา แสงสว่างรอบ ๆ โรงภาพยนตร์ จะต้องใช้ไฟของโรงภาพยนตร์ ต่อไปใช้ตามที่จอดรถ เพื่ออำนวยความ สะดวกให้แก่ผู้มาชมภาพยนตร์รอบค่ำ และสมัยนั้นค่าชมภาพยนตร์ราคาตั้งแต่ 10 บาท 15 บาท สูงสุด 30 บาท และโรงภาพยนตร์ที่ทันสมัยที่สุด มีบันได้เลื่อนขึ้นลง เป็นแห่งแรก

โรงภาพยนตร์สยาม เป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกในย่านสยามสแควร์นี้ มีความจุ 800 ที่นั่ง แต่เดิมจะใช้ชื่อว่า โรงภาพยนตร์ "จุฬา" แต่มีผู้คัดค้าน เนื่องจากไปพ้องกับ พระนามในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ "จุฬาลงกรณ์" ซึ่งเป็นการมิบังควร และยังพ้องกับชื่อของมหาวิทยาลัยด้วย เปิดฉายเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2509 โดยเสนอภาพยนตร์เรื่อง "รถถังประจัญบาน" (Battle of the Bulge) ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2513 ผู้บริหารโรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์ มีนโยบายให้ผลิต และจัดพิมพ์หนังสือแจกฟรี เรียกว่า สูจิบัตรข่าวภาพยนตร์ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โรงภาพยนตร์ ตลอดจนภาพยนตร์ที่จัดฉาย ในเครือเอเพ็กซ์ โดยชื่อหนังสือจะเปลี่ยนไปทุกเดือน จากการนำชื่อเรียกย่อของเดือนมาตั้งต้น แล้วจึงตามด้วยคำสร้อยที่เปลี่ยนไป เช่น ฉบับปฐมฤกษ์ มีชื่อว่า "ตุลาบันเทิง" ฉบับอื่นๆ เช่น มกราสกาลา หรือ ตุลาราตรี เป็นต้น เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลาบ่ายโมง หลังจากแกนนำ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน ประกาศยอมสายการชุมนุมที่บริเวณแยกราชประสงค์ และเข้ามอบตัวกับตำรวจ ปรากฏว่ากลุ่มผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งไม่พอใจ และมีผู้ลอบวางเพลิงโรงภาพยนตร์สยาม แต่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าดับเพลิงได้ เนื่องจากมีความไม่ปลอดภัย เพราะมีการยิงต่อสู้กันระหว่างทหารและกลุ่มติดอาวุธไม่ทราบฝ่ายตลอดเวลา จนกระทั่งอาคารเริ่มทรุดตัว และพังถล่มลงมา ในเวลา 15.45 น.[1] ทั้งนี้ ภาพยนตร์เรื่้อง "มหาประลัย คนเกราะเหล็ก 2" (Iron Man 2) เป็นเรื่องล่าสุดที่เข้าฉาย ก่อนโรงภาพยนตร์สยาม จะเกิดเหตุเพลิงไหม้ในครั้งนี้ ขอไว้อาลัยให้กับโรงภาพยนตร์สยาม ที่คอยสร้างความบันเทิงให้กับคนกรุงทพมาโดยตลอด ..

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ อำลา อาลัย ปิดตำนาน โรงหนังสยาม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook