วิจารณ์ภาพยนตร์ Cloverfield

วิจารณ์ภาพยนตร์ Cloverfield

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
Cloverfield หนัง นัยเย้ยหยัน (irony) อย่างหนึ่ง เมื่อสัญลักษณ์ของอเมริกาถูกทำลาย (ภาพเทพีเสรีภาพหัวขาด) มันกำลังบอกนักดูหนังว่า ควรเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมกับหายนะครั้งใหญ่ ที่กำลังจะเกิดขึ้น! พล็อตใน Cloverfield ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า เรื่องของน้องชายแสนดีนาม เจสัน (ไมค์ วอเกล) จัดปาร์ตี้ในยามค่ำคืนเพื่อเซอร์ไพรส์ให้กั บร็อบ-พี่ชาย (ไมเคิล สตาห์ล เดวิด) ซึ่งจะต้องเดินทางไปทำงานที่ญี่ปุ่นในเช้าวันรุ่งขึ้น ภาพความสนุกสนานรื่นเริงของเหล่าผองเพื่อนที่มาร่วมงานเลี้ยงอำลา ถูกบันทึกผ่านกล้องวีดีโอ โดย ฮัด (ที.เจ. มิลเลอร์) เพื่อนสนิทอีกคนของร็อบ ที่เป็นคนไล่ตามเก็บและสัมภาษณ์ คำกล่าวอำลา จากทุกคนที่มาร่วมงาน แต่ที่มากไปกว่านั้น หลังเกิดเสียงหนึ่งดังสนั่นหวั่นไหวขึ้น! ภาพปาร์ตี้ที่กำลังครื้นเครงเกิดสะดุดหยุดชะงักลง ผู้คนต่างพากันตื่นตระหนกประหวั่นพรั่นพรึงต่อสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้ เสียงที่พวกเขาได้ยินจากภายนอกมันเกิดอะไรขึ้นกันแน่! (แน่นอนว่าคนดูกำลังจับตา เจ้าของเสียง ที่ว่านี้อย่างกระชั้นชิด) และไอ้เจ้าสิ่งนี้แหละที่ตอบโจทย์แผนการตลาดของ Cloverfield ได้อย่างชะงักงันนัก (จนน่าปรบมือให้) ชวนให้คนดูเกิดอาการกระสับกระส่ายอยากตีตั๋วเข้าชมก่อนใครทันทีที่หนังเข้าฉายในวันแรก และอยากรู้ว่า แท้จริงแล้วภาพที่เราเห็นในทีเซอร์หนังตัวอย่างตอนแรกมันคือ เงา ของตัวอะไร? และจะใช่อย่างที่คาดการณ์ไว้หรือเปล่า! การนำเสนอ Cloverfield ในภาพ สิ่งก่อหายนะ อย่างคลุมเครือก่อนฉายจริง บ่งบอกเป็นนัยเย้ยหยันได้อีกอย่างหนึ่งว่า นอกจากเสรีภาพของมนุษย์ถูกทำลายแล้ว เราไม่มีทางล่วงรู้ได้เลยว่า อะไรที่มันกำลังทำลายมนุษย์เราไปอีก ถ้าเราไม่เข้าไปค้นหาคำตอบ (และคำตอบที่ได้รับในช่วงเวลากว่า 40 นาที ก็ยังดูออกจะคลุมเครือไม่ชัดเจนอยู่ดี)

ภาพผู้คนกำลังหนีตายกับ เหล่าสัตว์หายนะ (ขออุปโลกน์เรียกอย่างนี้แล้วกันครับ) และภาพของกองกำลังทหารพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ครบมือระดมยิงเข้าปราบ จะว่าไปแล้วเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ของใหม่เลยในอุตสาหกรรมภาพยนต์อันเนื่องด้วยสัตว์ประหลาดบุกเมืองหรือการต้องต่อกรกับหายนะที่เข้ามารุกรานโลก เพราะใน ID4 ,Godzilla หรือ ล้วทั้งนั้น แต่สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นของ ใหม่ กลับเป็นลีลาเขย่าภาพอันสุดสนั่นหวั่นไหว โดยการใช้สไตล์กล้องกวัดแกว่งแบบมือประคองนั่นต่างหาก (แม้ผู้คนส่วนใหญ่จะบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าเหมือน The Blair Witch Project ก็ตาม แต่ผู้เขียนกลับคิดว่าสไตล์แฮนด์เฮลด์ใน Cloverfield โคตรจะไหวกว่ามาก!) ผู้เขียนเลยไม่แปลกใจกับกระแส โคลเวอร์ฟีลด์ฟีเวอร์ ก่อนหน้านี้ ที่ถูกพูดถึงถล่มทลายในโลกไซเบอร์ (บางแหล่งข่าวถึงกับบอกว่ามีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ร่วมห้าร้อยคนต่อวัน!) และร่วมตีความกันไปต่างๆนาๆว่ามันคือตัวอะไรกันแน่! แต่เมื่อได้เห็นแล้วว่ามันเป็นตัวอะไร คงไม่เท่ากับหลายเสียงที่บ่นอุบว่า ภาพส่ายไป-มาชวนเวียนหัวหรือ อ้าวเฮ้ย! จบแล้วหรือฟะ! และหรืออีกหลายเหตุผลอันไม่คุ้นชินกับภาพชวนคลื่นเหียนของหนังเรื่องนี้ ส่วนไคลแม็กซ์พอได้รู้ กลับกลายเป็นเรื่องรองลงไปทันที (จะว่าไปกว่าจะได้เห็นภาพเจ้าสัตว์หายนะเต็มๆตา ก็ปาเข้าไปจวนจะจบเรื่องอยู่แล้ว นอกนั้นหนังให้เห็นในรูปแบบลักปิดลักเปิดอยู่ตลอดเวลา)

กระนั้นก็ตามเหตุผลซ่อนเงื่อนนอกเหนือจากการได้เห็นตัวเจ้าสัตว์หายนะ บางทีโปรดิวเซอร์มือทองอย่าง เจ.เจ. อับรามส์ (ผกก. Mission:Impossible 3 และเจ้าของซีรี่ส์สุดฮิตอย่าง Alias และ Lost - ส่วนผู้กำกับของหนังเรื่องนี้ชื่อ แม็ทท์ รีฟส์ อย่าสับสน ) อาจกำลังสะท้อนให้เห็นถึงการถูกคุกคามโดยไม่ทันตั้งตัวของเจเนอเรชั่นยุคหลัง 2000 ก็เป็นได้ โดยใช้เจ้าสัตว์หายนะเป็นสัญลักษณ์ (Symbol) ของการรุกรานที่เข้ามาแทนที่ความสุขสมบูรณ์แบบในชีวิตมนุษย์ ในสารคดีรางวัลออสการ์ An Inconvenient Truth (2006) ของอัล กอร์ นั่นก็เหมือนกัน บ่งบอกได้เห็นภาพและเถรตรงอย่างถึงที่สุด ใช่! เรายอมรับความจริงที่ว่า หากทุกคนไม่ช่วยกัน ลดภาวะโลกร้อน โลกของเราอาจจะทรุดและเกิดถล่มเข้าในเร็ววัน แต่ความจริงถึงความจริงที่สุดแล้ว เราไม่เคยยอมรับความจริงที่ยังไม่เกิดขึ้นนี้ได้เลย กลับปล่อยปละละเลย เอาความสุขเข้าใส่ตัวไว้ก่อน สิ่งอื่นๆรอบตัวมิใช่หน้าที่ในเร็ววันที่จะต้องรับผิดชอบหรือหยิบยกมาพูดถึง คำว่า หายนะ จึงถูกพับเก็บไว้ในส่วนลึกของมันสมองไปโดยปริยาย Cloverfield สร้างโลกทัศน์ให้ผู้ชมเห็ันเกิดขึ้นได้จริงและทุกเวลา (ความสุขกับหายนะ) เพียงแต่มันจะเกิดขึ้นตอนไหนเท่านั้นเอง! ดูได้จากสิ่งเย้ยหยันของหนังเป็นตัวเปรียบเทียบ อาทิ ปาร์ตี้เซอร์ไพรส์ในตอนแรกกับ เซอร์ไพรส์ ในเวลาต่อมา (เจ้าสัตว์หายนะ) ซึ่งก่อนหน้าที่ทุกคนกำลังรื่นเริงสนุกสนานไม่เคยมีใครคิดเลยว่า เรื่องเลวร้ายชนิดสุดลิ่มทิ่มประตูเหล่านี้จะเกิดขึ้น หรืออย่างตัวน้องชายเจสันนั่นก็เหมือนกัน

ทั้งที่เจ้าตัวเป็นคนจัดปาร์ตี้อำลาพี่ชาย แต่ตัวเองกลับอำลาจากพี่ไปเสียก่อน หรือจะเรื่องของอนาคตความก้าวหน้าในอาชีพการงานในญี่ปุ่นของร็อบชั่วไม่ทันพ้นข้ามคืนกลับกลายเป็นฝันร้ายขึ้นมาฉับพลัน! ภาพบันทึกคำกล่าวอำลาทั้งหมด อาจเป็นคำตอบบ่งชี้ได้ตั้งแต่ตอนต้นเรื่องแล้วว่า ทุกอย่างย่อมมีวันจากลา เพียงแต่ใครจะจากไปก่อนหรือหลังเท่านั้นเอง สัตว์หายนะ จึงไม่ใช่จะมีแค่แต่ในจอภาพยนตร์เท่านั้น มันเกิดขึ้นได้จริง นอกจอ ในทุกสถานการณ์ (เหตุการณ์ ซึนามิ หรือโรคระบาดอย่าง ไข้หวัดนก เป็นอาทิ) คงไม่ต้องรอให้มีก็อตซิลล่ามาถล่มเมืองหรือเจ้าสัตว์หายนะออกอาละวาดจนตึกรามบ้านช่องพังยับเยินป่นปี้ เอาเข้าจริง เราทุกคนอาจจะตายเร็วกว่ากำหนดด้วยซ้ำไป ถ้าเพียงแต่ มนุษย์ ยังเลือกที่จะ รักตัวเอง อยู่ฝ่ายเดียว!

ที่มาจาก

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ วิจารณ์ภาพยนตร์ Cloverfield

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook