สัมภาษณ์ เอ๋อตงซิน ผู้อยู่เบื้องหลัง เฉินหลง

สัมภาษณ์ เอ๋อตงซิน ผู้อยู่เบื้องหลัง เฉินหลง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เอ๋อตงซิน คือผู้กำกับ/นักแสดง/ผู้เขียนบท และผู้กำกับภาพที่มีพรสวรรค์ที่สุดคนหนึ่งของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของฮ่องกง เขาเกิดเมื่อปี 1957 โดยช่วงยุค 40 นั้น พ่อของเขาคือผู้อำนวยการสร้างหนัง ส่วนแม่เป็นนักแสดงชื่อดังในเซี่ยงไฮ้ อันเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของจีน ในขณะที่ เจียงต้าเหว่ย พี่ชายของเขาก็เป็นนักแสดงผู้คว้ารางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมที่เทศกาลภาพยนตร์ Asian Pacific ครั้งที่ 16 เมื่อปี 1970 โดยสมาชิกตระกูลเอ๋อกว่า 20 ชีวิตได้คร่ำหวอดอยู่ในวงการภาพยนตร์มายาวนานและเหนียวแน่น

ในปี 1975 บริษัท Shaw Brother ของฮ่องกงยกให้ เอ๋อตงซิน เป็นนักแสดงนำชายคนหนึ่งของบริษัท หลังจากนั้นอีก 9 ปีเขาก็ได้แสดงภาพยนตร์ในบทนำกว่า 40 เรื่อง ต่อมาในปี 1986 เขาถึงได้เข้าสู่เส้นทางการกำกับภาพยนตร์ Lunatics ผลงานเรื่องแรกของ เอ๋อตงซิน ถูกแบนในฮ่องกงเพราะมันตั้งคำถามที่เปราะบางและสร้างความขัดแย้งในสังคม แต่หลังโต้แย้งและคัดค้านกับทางการ ในที่สุดหนังก็ได้ออกฉายสู่สายตาสาธารณชนและทำเงินได้เกือบ 10 ล้านดอลล่าร์ รวมทั้งสร้างเทรนด์ภาพยนตร์แนวใหม่และต่อมาก็กลายเป็นที่รู้จักในฐานะ 1 ใน 10 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี 1986 และยังถูกเสนอเข้ารางวัล Hong Kong Film Awards ถึง 5 รางวัล รวมถึงผู้กำกับยอดเยี่ยม ผลงานเรื่องต่อมาของเขาก็คือ C'est la vie, mon cheri (1994) หนังรักเรื่องเยี่ยมที่สามารถทำลายสถิติรายได้บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิศ และคว้ารางวัลอันทรงเกียรติของงาน Hong Kong Film Awards มาได้ถึง 6 รางวัล, Full Throttle (1995), Viva Erotica (1996), Lost in Time (2003) หนังรักสุดประทับใจ นำแสดงโดย จางป๋อจือ และ กู่เทียนเล่อ, One Nite in Mongkok (2004) ที่ทำให้เขาได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมของ Hong Kong Film Awards เป็นครั้งที่สอง และล่าสุดคือ Protege (2007) ภาพยนตร์ดราม่า-อาชญากรรม ที่ได้ หลิวเต๋อหัว มาประชันบทกับ แดเนียล วู

เอ๋อตงซิน ได้พิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นแล้วว่าเขาเป็นคลื่นลูกใหม่ที่น่าจับตามอง โดยประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องของรายได้และเสียงวิจารณ์มาอย่างยาวนาน และยังสามารถสร้างภาพยนตร์ได้หลากหลายแนว แต่ถ้าเราสังเกตุถึงเครื่องหมายการค้าของเขาแล้ว เราก็จะทราบว่าหัวข้อที่เขาสนใจเป็นพิเศษคือการเล่าเรื่องของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง และความสัมพันธ์อันซับซ้อนของพวกเขา ที่เราทุกคนอาจเห็นได้ตามท้องถนนอยู่ทุกวัน ทำไมคุณถึงตัดสินใจผันตัวจากการเป็นนักแสดงมาทำหน้าที่เป็นผู้กำกับ? มันเกิดขึ้นเพราะความสนใจส่วนตัวของผม ง่ายๆเลยก็คือถ้าคุณรู้สึกสนุกไปกับมันคุณก็ทำ จริงๆแล้วก่อนที่ผมจะเข้ามาอยู่ในเส้นทางนี้ ผมก็ได้เริ่มเขียนบทภาพยนตร์ในกับพี่ชายของผมและ เอริค ซาง พวกเราใช้เวลากันประมาณ 10 ปีในการสร้างภาพยนตร์เรื่องที่มีชื่อว่า The Legend of the Owl (1981) และด้วยความที่ตัวเองสนใจในกระบวนการสร้างภาพยนตร์มาก ผมจึงใช้เวลาในการเฝ้าสังเกตุอย่างระเอียด ตลอดช่วงระหว่างที่ผมถ่ายทำภาพยนตร์ในแต่ละเรื่อง คุณได้รับรางวัลจากการกำกับมามากมาย คุณมีความรู้สึกยังไงกับสิ่งที่ได้รับบ้าง? พูดตามตรงแล้วผมไม่ได้ความรู้สึกพิเศษอะไรเลย จริงๆแล้วผมให้ภรรยาวางรางวัลที่ได้มาเอาไว้ในออฟฟิศเท่านั้นเอง คือแทนที่จะต้องไปแข่งกับคนอื่น ผมคิดว่ามันเป็นการแข่งขันกับตัวเองมากกว่า การสร้างหนังนั้นเป็นกระบวนการที่ พอคุณได้ลองลงไปทำแล้วจะรู้ว่าไม่ง่ายเลย ดังนั้นมันจึงเป็นความท้าทายในการทำให้ตัวเองตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าหนังจะดีหรือแย่ มันใช้เวลาไม่แตกกันในการสร้างให้เสร็จสมบูรณ์ และเมื่อคุณรู้สึกเหนื่อยหรือมีอุปสรรคใหญ่ขวางอยู่ข้างหน้า มันก็คือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในการที่จะผลักดันตัวเองก้าวข้ามมันไปให้ได้

อย่างไรก็ตาม การได้รับรางวัลก็เป็นของขวัญที่พิเศษสำหรับผม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการที่มีคนเห็นคุณค่าในผลงานของคุณ และมันยังเป็นแรงใจที่ช่วยผลักดันคุณให้ทำงานหนักมากขึ้น แต่ลึกๆแล้ว ผมคิดว่าคู่แข่งที่สำคัญที่สุดก็คือตัวคุณเอง ผมว่ามันไม่ใช่สาระสำคัญเลยถ้าคุณสร้างหนังเพื่อไปแข่งกับคนอื่น จากสมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน คุณมีมุมมองสำหรับการสร้างหนังที่แตกต่างออกไปบ้างไหม? สิ่งที่สำคัญในการเลือกโปรเจ็คของผมนั้น คือมันต้องเป็นอะไรที่ผมรู้สึกสนใจ แต่ถ้ามันเป็นอะไรที่ผมไม่สนใจ ผมก็อาจจะยังตัดสินใจทำ แต่คุณต้องจ่ายให้ผมอย่างสมเหตุสมผลน่ะ (หัวเราะ) ซึ่งนี้แหละคือความจริง เพราะผมเองก็ยังเป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ต้องกินต้องใช้ สำหรับการทำหน้าที่เป็นผู้กำกับ มีบางครั้งที่ผมต้องทำในสิ่งที่ตัวเองไม่อยากทำ แต่รับรองได้ว่าผลลัพท์ต้องออกมาไม่ดีอย่างที่ใครคาดหวังแน่ เพราะถ้าคุณไม่ชอบเนื้อเรื่องที่กำลังเล่าแล้ว คุณคงไม่สนุกในการทำงานกับโปรเจ็คนี้อย่างแน่นอน ผมรู้ว่ามันยากที่จะชนะใจผู้ชมทุกคน ดังนั้นผมจึงอยากที่จะสร้างภาพยนตร์ที่ผมชื่นชอบเป็นการส่วนตัว และหวังว่าผู้ชมคงรู้สึกเช่นดียวกับผมก็เท่านั้น คุณได้วางสถานะของตัวเองในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของฮ่องกงไว้ตรงไหน? ผมวางสถานะของตัวเองไว้ตรงไหนน่ะเหรอ? ผมคงพูดได้แค่ว่าตัวเองเป็นแค่หนึ่งในผู้กำกับฮอ่งกง ที่ยังคงทำงานอยู่ในวงการ คือตอนนี้เรามีผู้กำกับไม่ถึง 100 คนที่ทำงานอยู่บนเกาะฮ่องกง มีหลายคนที่เขยิบไปสายงานอื่น หลายคนที่เปลี่ยนอาชีพไปเลย และหลายคนที่เกษียณตัวเองไปแล้ว อย่างเช่น จอห์นนี่ มั๊ค (ผู้อำนวยการสร้าง Long Arm of the Law, To Be Number One) ก็ผันตัวไปทำงานในแวดวงโทรทัศน์ หรืออย่าง ชุยซิวหมิง ก็ไปทำงานให้กับทีวีเคเบิ้ลแล้ว ดังนั้นจำนวนผู้กำกับที่เหลืออยู่ประมาณ 30-40 คน จึงเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างน้อย ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่ดูไร้ความหมาย ถ้าผมจะวางสถานะของตัวเองในวงการให้เป็นอย่างอื่นนอกจากหนึ่งในสมาชิก

มีหลายคนที่บอกว่าภาพยนตร์ของคุณสร้างจากตัวละคร โดยคุณมักจะถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก รวมถึงความเห็นอกเห็นใจแก่ชนชั้นล่างในสังคมเมืองใหญ่ คุณคิดยังไงกับข้อสังเกตุนี้? ผมคิดว่าผู้กำกับหลายต่อหลายคนก็มีวิสัยทัศน์ไม่แตกต่างกันหรอก โดยส่วนตัวแล้ว ผมรู้สึกสนุกไปกับการเล่าเรื่องที่มีอารมณ์ร่วม และพูดถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ แต่มันยากสำหรับผมที่จะคิดถึงเรื่องในอดีต บางครั้งที่ผมงนั่งดูหนังเก่าๆของตัวเอง ก็ยังไม่สามารถอธิบายได้เลยว่า ณ.ช่วงเวลาที่ถ่ายทำนั้นตัวเองกำลังคิดอะไรอยู่ อะไรคือแรงบันดาลใจหลักในการสร้างภาพยนตร์สำหรับคุณ? ปกติแล้วก่อนที่ผมจะเริ่มทำงานในโปรเจ็ค ผมก็จะคิดถึงหัวข้อน่าสนใจที่ผู้ชมต้องสนใจเหมือนกัน ผมมีเรื่องราวที่เก็บเอาไว้ในคอมพิวเตอร์ และผมยังซื้อหนังสือดีๆเก็บเอาไว้มากมาย อย่างเช่นในปี 1995 ผมเริ่มทำการศึกษาข้อมูลเรื่องราว เกี่ยวกับชาวจีนที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นอย่างผิดกฏหมาย ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นหัวข้อที่น่าสนใจมากๆ ซึ่งมันก็ใช้เวลากว่า 10 ปี กว่าที่มันจะถูกสร้างออกมาให็เป็นภาพยนตร์เรื่อง Shinjuku Incident ผมยังอยากจะสร้างหนังที่พูดถึงชีวิตของสัตวแพทย์ ซึ่งก็คงเป็นเรื่องยากในการชักจูงนายทุน ให้มาลงทุนหลายล้านเหรียญเพื่อสร้างหนังที่เกี่ยวกับสัตว์ เพราะว่าพวกเขาไม่สามารถมองข้ามความเสี่ยง กลับกันทำไมพวกเขาถึงกล้าลงทุนสร้างหนังกำลังภายใน ก็เพราะว่ามันสามารถเอาไปขายต่างประเทศได้หน่ะสิ ประเด็นของผมก็คือตลาดหนังของเราไม่ใหญ่พอ สำหรับหนังแนวที่แตกต่างออกไปจากนี้ ไม่มีใครอยากลงทุน 4-5 ล้านเหรียญเพื่อสร้างหนังที่เกี่ยวกับหมูหรอก และถ้าเกิดผมได้สร้างขึ้นมาจริงๆ แล้วมันไปเข้าชนกับหนังของ หลิวเต๋อหัว คุณคิดว่าตยจะเลือกดูหนังของผมหรือเปล่าล่ะ คุณสนใจเรื่องรายได้หนังของคุณหรือเปล่า? แน่นอน! (หัวเราะ) อย่างน้อยผมต้องทำให้แน่ใจว่ามันจะไม่ขาดทุน ปัจจุบันนี้นักดูหนังทั่วไปไม่สนใจในผลงานที่ผ่านมาของผู้กำกับหรอก พวกเขาเลือกดูหนังโดยหวังว่าตัวเองจะได้ดูหนังที่สนุก จริงๆแล้วผมคิดว่าความต้องการของคนดูยังสูงอยู่น่ะ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ไปดูที่โรงภาพยนตร์ สถานีทีวีก็กว้านซื้อสิทธิหนังเพื่อฉายทางสถานีของพวกเขา แน่นอนที่ว่าหนังในปัจจุบันนี้จะไม่ทำกำไรเท่ากับอดีตที่ผ่านมา แต่คุณก็ยังสามารถทำกำไรในระยะยาว เพราะว่าอีก 50 ปีข้างหน้าคุณก็ยังสามารถขายดีวีดีหนังได้อยู่

พูดถึงตลาดหนังในฮ่องกง คุณมองเห็นอนาคตของอุตสาหกรรมหนังในประเทศอย่างไรบ้าง? ผมพยายามที่จะไม่คิดถึงคำถามนี้น่ะ แต่ดูอย่างในอดีตที่เรามีหนังมากกว่า 300 เรื่องต่อปี ซึ่งประมาณ 100 เรื่องก็เป็นหนังที่เรียกได้อย่างเต็มปากว่าดี แต่คุณดูปีที่ผ่านมาสิ เรามีหนังน้อยกว่า 100 เรื่อง และก็ยังมีหนังแย่ๆที่ถูกสร้างขึ้นมากมาย ผมไม่อยากที่จะเอ่ยถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะหรอกน่ะ แต่ผมได้ดูหนังหลายเรื่องที่ทำให้ผมรู้สึกโมโหมากในปีที่ผ่านมา คุณมีอะไรฝากไปถึงคนที่กำลังคิดว่าจะเข้ามาทำงานในวงการไหม? ผมขอพูดเป็นสองหัวข้อน่ะ หนึ่งคือสำหรับผู้ที่อยากเข้ามาทำงานด้านการแสดง ผมไม่อยากที่จะทำให้เสียกำลังใจอะไรหรอกน่ะ แต่เริ่มแรกเลยนั้นคุณต้องทำให้แน่ใจว่า คุณเข้าใจในจุดมุ่งหมายตัวเองอย่างแจ่มแจ้ง คือคุณไม่จำเป็นต้องสวยสุดหรือหล่อสุด เพราะว่าประเด็นหลักก็คือคุณมีแรงจูงใจที่จะทำมันจริงๆหรือไม่ หยุดฝันกลางวันได้แล้ว ถ้าคุณไม่ตั้งใจทำมันจริงๆจังๆก็อย่าเข้ามาทำเลย พยายามไปเรียนการแสดงให้เยอะๆ อย่าไปหลงเชื่อภาพข่าวที่ให้ภาพลักษณ์ว่า ป๊อปไอด้อล สามารถทำเงินได้อย่างง่ายดาย มันไม่ใช่เลย ถ้าจุดมุ่งหมายของคุณคือการอยู่ภายใต้แสดงสป๊อตไลท์ตลอดไป ผมแน่ใจว่าคุณจะไม่มีทางอยู่รอดในวงการนี้อย่างแน่นอน สำหรับคนที่สนใจการทำงานเบื้องหลัง คุณทำใจไว้เลยว่าตัวเองต้องดิ้นรนในช่วงสองสามปีแรก ซึ่งกุญแจสู่ความสำเร็จคือความขยัน ไม่ว่าคุณจะจบจากโรงเรียนสร้างหนังหรือไม่ คุณต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหาประสบการณ์ แต่ถ้าคุณคิดแค่ว่านี้เป็นเพียงงานพาร์ทไทม์ มันก็อาจไร้ความหมายที่จะดันทุรังอยู่ในวงการนี้ ผมว่าการสร้างภาพยนตร์เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยง ไม่ว่าคุณเป็นผู้กำกับที่มีชื่อเสียงแค่ไหน ถ้าหนังคุณล้มเหลวในเรื่องรายได้ ก็อาจจะไม่มีใครจ้างคุณเป็นระยะเวลานาน

อีกอย่างก็คือ คุณต้องพยายามหางานทำให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในปีแรกๆ คุณไม่สามารถนิ่งเฉยๆแล้วรอให้งานวิ่งเข้ามาหา ก็อย่างที่ผมบอกแหละว่า ธุรกิจนี้ต้องการสายสัมพันธ์ที่แนบแน่น มันเป็นเรื่องสำคัญที่คนในวงการจะรู้ว่า คุณคือใครและมีความสามารถอย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหลายปีที่แล้วผมเลื่อนขั้นให้เด็กคนหนึ่งมาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ ซึ่งเริ่มแรกเลยนั้นเขาเป็นเพียงเด็กในออฟฟิศเท่านั้น คุณดูเขาตอนนี้สิ ได้ไปเป็นผู้ช่วยผู้กำกับให้กับ แอนดรู เลา แล้ว

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ สัมภาษณ์ เอ๋อตงซิน ผู้อยู่เบื้องหลัง เฉินหลง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook