ย้อนดูหนังในดวงใจ ภาคภูมิ วงษ์จินดา

ย้อนดูหนังในดวงใจ ภาคภูมิ วงษ์จินดา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
มีหนังเรื่องไหนที่เป็นแรงบันดาลใจให้อยากทำหนังไหม? "พี่รู้สึกว่าหนังที่เราดูทุกเรื่องมันเป็นแรงบันดาลใจเราหมดน่ะ หมายถึงว่าพี่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่า ดูเรื่องนี้แล้ว โอ้โห เราจะต้องเป็นผู้กำกับ มันไม่ใช่เลยไง เลยไม่รู้ว่าจะตอบว่ายังไงเพราะมันรวมๆ ดูหนังเรื่องนึงแล้วเราก็อยากทำมีอยู่ช่วงนึงไปสนใจหนังพวกอาร์ตเฮ้าส์ พวกเกอเธ่ สมาคมญี่ปุ่น อาลียองซ์ฯ บ้าหนังแนวนั้นไป เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าหนังเรื่องไหน มันเยอะนะ โดยเฉพาะหนังไทย ตั้งแต่สมัยเด็กๆ อย่างหนังไทยรุ่นของพี่ มานพ อุดมเดช, คุณ ยุทธนา มุกดาสนิท แล้วก็มารุ่นพี่อุ๋ย (นนทรีย์ นิมิบุตร) เราก็รู้สึกศรัทธาคนเหล่านี้ พี่มานพ, พี่อุ๋ย, ท่านมุ้ย, พี่ต้อม เป็นเอก (รัตนเรือง) เราก็รู้สึกว่าเวลาดูหนังเขาแล้วเราชอบ ถ้าจะพูดถึงแรงบันดาล ใจก็น่าจะมาจากกลุ่มผู้กำกับเหล่านี้ หนังไทยจะมีอิทธิพลมากเป็นพิเศษ มีอิทธิพลมากกว่าหนังฝรั่งในการที่จะขับเราขึ้นมา" เห็นในงานของพี่ชอบมีประเด็นทางสังคมเข้ามาเกี่ยว อย่างใน รับ น้องสยองขวัญ ? รับน้องมันไม่ชัดมาก จริงๆ อยากจะพูดมากกว่านั้น แต่เรากลัวสาระเยอะ และกลัวมันไม่มัน เพราะเราไม่เคยทำหนังแนวโหด โหดฉาบหน้าไว้ดีกว่า ส่วนฟอร์มาลินแมนฯ พูดถึงคนที่ยึดติด ไม่ยอมตาย จิตใจยังยึดติดกับเรื่องความรัก เรื่องชื่อเสียงเงินทอง ห่วงนู่นห่วงนี่ ทำให้คนไม่ยอมตาย สุดท้ายแล้วเขาก็รู้สัจธรรม มันไปทางพุทธมาก สุดท้ายเขารู้ว่าทุกสิ่งไม่แน่นอน ความรักที่มีให้คนอื่นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว สุดท้ายคุณจากไปโดยที่คุณยังห่วงหาคนอื่น คุณไม่ต้องห่วงหาเขาหรอก ถ้ามีความรักอยู่ พูดถึงเรื่องนี้ คือจริงๆ พี่ไปชอบประโยคของ อา เชิด ทรงศรี ที่เขาเขียนไว้ตอนต้นเรื่องว่า ความลึกลับแห่งความรักยิ่งใหญ่กว่าความลึกลับแห่งความตาย พี่ชอบประโยค จึงเอามาเป็นแกนของเรื่อง แล้วใน วิดีโอคลิป ล่ะ? วีดีโอคลิปเนี่ย ไอเดียเกิดจากเห็นข่าวในหนังสือพิมพ์ ตอนที่ทุกคนคุยเรื่องคลิปหลุด คนโน้นคนนี้ รู้สึกเท่ เก๋ ใครๆ ก็มี เป็นช่วงที่ใครไม่มีโทรศัพท์ที่ถ่ายวิดีโอ ได้แล้วไม่ดี คือซื้อมาเพื่อดูคลิปกัน และพี่ก็ได้ดูข่าวเด็กนักเรียนที่คลิปหลุด ซึ่งสุดท้ายเด็กคนนั้นฆ่าตัวตาย คือสิ่งที่เราดู เรารู้ไหมว่าผู้หญิงที่ดูอยู่อาจจะ ตายไปแล้วก็ได้ แล้วเรารู้สึกอะไรไหม คนรู้สึกอะไรกับมันบ้างไหมที่ดูคนที่ตายไปแล้ว ก็เลยคุยกับพี่ปรัชและมันก็ยืนอยู่บนเรื่องที่ คนเราสมัยนี้ เราทำอะไรไปบางอย่าง แต่ผลกระทบมันยิ่งใหญ่ อาจเป็นการกระทำที่ถูกกฎหมายก็ได้นะ อย่างการฟอร์เวิร์ด เมล หรือส่งคลิปวิดีโอ เนี่ยมันก็ถูกกฎหมาย แต่อยากให้ยับยั้งชั่งใจนิดนึง คือ เมื่อก่อนเราแค่อาจไปแอบดูผู้หญิงอาบน้ำ ดูคนมีอะไรกัน จบไปก็แค่ไปเล่าให้ฟัง แต่สมัยนี้มันทันสมัย เอาภาพบันทึกได้ด้วย เร็วกว่าปากต่อปาก ฟอร์เวิร์ดแป๊ปเดียวทั่วโลก ภาพนั้นคนทั่วโลกได้เห็นหมดเลย มันอาจจะเกิดแค่น้ำผึ้งหยดเดียว เช่นมีคนทำโทรศัพท์มือถือตกเราได้มา เรามาดูมีภาพ ส่งให้เพื่อนเราดีกว่า เพื่อนเราเอาไปเผยแพร่ แป๊ปเดียว ไอ้เจ้าของรูปจะรู้สึกยังไง เลยเกิดคอนเซปต์ว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ที่เกิดจากคนๆ หนึ่ง เดี๋ยวนี้คนเราละเลยกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ มันเท่ มันเก๋ แต่มันไม่สนุกเลยกับคนที่โดน อย่างหนังที่เลือกมาก็มีประเด็นทางสังคม อย่าง City of God โดนใจมากเลย พี่จะช็อคกับไอ้ภาพอย่างนี้ เรื่องสังคมที่เล่าเรื่องของเด็กๆ หรือพวกเด็กด้อยโอกาส ซึ่งบ้านเราก็มีนะ แต่ทำได้ไม่ขนาดนี้ อย่าง City of God หรือ Kids (ลาร์รี่ คลาร์ก, 1995) คือหนังที่โดนๆ อย่างนี้ที่พี่จะตามๆ ดู แล้วรู้สึกว่าประเด็นทางสังคมมันแรง และมันบอกอะไรบางอย่างพร้อม ภาพอะไรต่ออะไร มันทำให้คนได้รับรู้ว่า กลุ่มวัยรุ่น เด็กเป็นอย่างนี้นะสังคมมีปัญหาตรงนี้นะ เด็กกับมุมมองของผู้ใหญ่มันไม่เหมือนกันพี่ว่าหนังพวกนี้มันจะช่วยเยียวยาสังคม แต่กับเมืองไทย ตอนนี้ยากมากที่จะทำอย่างนี้ เพราะว่า ถ้าพูดถึงเรื่องเด็กติดยา เด็กยิงกัน เด็กฆ่ากัน เซ็นเซอร์ก็ไม่ยอมแล้ว เราก็รู้สึกว่าหนังพวกนั้นมันคือวัคซีน แต่บ้านเราพยายามแอนตี้วัคซีนเหล่านี้ ผู้ใหญ่ในบ้านเราเกลียดความเป็นจริง ชอบประโลมโลก City of god นี่แบบ ชอบไปเลย ดูแล้ว ยกให้เป็นอันดับ 1 ในดวงใจ ชอบมาก เห็นแล้วรู้สึกว่า เขาทำได้ไงน่ะ ทำไมเขาทำอย่างนั้น เขาเล่าเรื่องได้จริงมากจริงจนเรารู้สึกว่า เออ มันทำได้ไง แล้วภาพที่ออกมาเราก็รู้สึกว่า มันเท่ มันจริง เรื่องราวเขาก็โอเคหมด เรื่องทางสังคมนี่เป็นเหตุผลเดียวกับที่ชอบ 13 เกมสยอง รึเปล่าครับ? อื้ม นั่นแหละ แล้วก็ Taxi Driver ด้วย 13 เนี่ยมันก็พูดถึงวงของเด็กที่ชีวิตวันๆ นึง ที่อยู่กับเกมออนไลน์ จนเข้าตัวเอง ดึงเอาชีวิต ความคิดของตัวเองเข้าไปอยู่ในเกม ซึ่งมันเหมือนกับเด็กสมัย นี้ที่ผูกพันกับเกมมากกว่าพ่อแม่แล้วนะ มัน เหมือนเกม ออนไลน์เลี้ยงเขาแล้วน่ะ เด็กสมัยนี้สร้างโลกส่วนตัวของตัวเองกันแล้ว ซึ่งผู้ใหญ่ไม่มีโอกาสรับรู้ในจุดนี้หรอก โลกของเขาไม่ใช่โลกความเป็นจริง แต่เขาสร้างโลกของตัวเองขึ้นมา 13 ทำออกมาตรงนี้ได้แบบ อืม อย่างที่รู้กัน ชื่นชมกับผู้กำกับมะเดี่ยว ได้ดู คน ผี ปีศาจ (งานเรื่องก่อนของมะเดี่ยว) ไหมครับ? ได้ดูๆ ก็โอเค แต่ว่าประเด็นสังคมมันไม่ชัดเจนเหมือน 13 ที่มีเนื้อในอะไรเยอะแยะ ถ้าดูดีๆ มันสอดแทรกอะไรเยอะมาก มันพูดถึงเรื่องของสัมคมที่กำลังแย่ คนที่ตกงานไม่มีอะไร ความบีบคั้นอะไรต่ออะไรเยอะแยะไปหมด มันสะท้อนสังคมได้ดูดี แล้ว Taxi driver ล่ะ? Taxi Driver เนี่ย เป็นเรื่องของแท็กซี่ที่ไปหลงรักโสเภณีเด็ก พี่มองว่ามันเป็นเรื่องของคนด้อยโอกาสที่เทิดทูนผู้หญิงคนนึง แล้วกล้าที่จะเอาชีวิตไปแลก ทำให้คนที่มันรักหลุดพ้นจากกลุ่มของพวกมาเฟีย แต่สิ่งที่เหนือจากนั้นคือมันพูดถึงสังคมอเมริกันในยุคนั้น มันเหมือน City of God อะไรอย่างนี้เลยนะ แต่เรื่องของมันก็เแค่นี้แหละ เหมือนเราเป็นวัยรุ่นเราอาจจะหลงใหลดาราโฟร์ มด อะไรอย่างนี้ แต่ตัวแท็กซี่ ขับรถผ่านหน้าซ่องก็จะเห็นเด็กผู้หญิงที่เป็นโสเภณียืนอยู่ ก็ได้แต่มองแล้วก็จะชอบ หลงใหล พยายามอยากจะรู้จัก เป็นความรักอันบริสุทธิ์ จนมันรู้ว่าผู้หญิงคนนี้มีแมงดาคุมมันก็เลยจะไปช่วย...พี่ดูกี่ครั้งหนังเรื่องนี้ก็ยังทันสมัยมันไม่มียุคสมัยเลย ดูแล้วแบบ เออ ทันสมัยตลอด มาถึงหนังของเควนติน ตารันติโน่ Kill Bill กับ Pulp Fiction? หนังประหลาด อันเนี๊ยะ (หัวเราะ) หนังประหลาดที่ไม่ถนอมน้ำใจคนดู ที่จริงจะว่าไปพี่ก็ชอบ Reservoir Dogs (เควนติน ตารันติโน่, 1992) เหมือนกันนะ แต่ถ้าให้ชอบแรงกว่านั้นคือ Pulp Fiction และถัดมาก็คือ Kill Bill ที่เรารู้สึกว่า เออ หมอนี่มันคิดอะไรมันก็คิดได้แล้วน่ะ คือมันไม่มานั่งสนใจว่าสูตรเสริตอะไรกูไม่มีแล้ว อยากใส่การ์ตูนในฉากนั้นก็ใส่ เปลี่ยนสีก็เปลี่ยน มันเอาหนังอยู่แล้ว นึกอยากจะทำอะไรก็ทำ แล้วทำออกมาก็กลมกลืนดี สามารถผสมเอาไอ้โน่นไอ้นี่ ด้วยความที่ประวัติเขาเป็นคนที่ดูหนังเยอะ เป็นพนักงานร้านวิดีโออยู่แต่ในร้าน แล้วเราก็รู้สึกว่า เฮ้ย เขาเป็นคนที่สามารถดึงเอาอะไรมายำๆๆๆๆ แล้วสามารถสร้างเทรนด์ใหม่ของหนังขึ้นมา พี่ถือว่าเป็นศาสดาของการกำกับหนังยุคใหม่เลยนะ เหมือนกับหลังจากนั้นมาปุ๊บมันก็จะมีแบบนี้ตามออกมาเยอะ ถ้าถามว่าชอบภาคไหนมากกว่ากัน พี่ว่า Kill Bill สองเรื่องนี้มันเรื่องเดียวกันนะ แต่ภาคสองฉูดฉาดกว่าหน่อย (แต่ผมว่าภาคหนึ่งฉูดฉาดกว่านะ - ผู้สัมภาษณ์) เหรอ แต่พี่รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเดียวกันน่ะ เหมือน The Lord of the Rings ก็บอกไม่ได้ว่าชอบภาคไหนมากกว่า เพราะดูภาคหนึ่งเสร็จก็จะดูสองเลย เหมือนดูซีรีส์น่ะ (หัวเราะ) Pulp Fiction ล่ะครับ? ชอบการเล่าเรื่องของหนังมาก มันเล่าเรื่องเป็นวงกลม ตอนแรก ดูแล้วก็สับสนน่ะ คนดู Pulp Fiction แรกๆจะสับสน แต่พอดูไป หูย แม่งเก่งว่ะ เล่าเรื่องเก๋มาก แล้วพี่ชอบสไตล์ของเขา บทที่พร่ำพูดอะไรของมันไปเรื่อยเนี่ยเควนตินจะมีจุดเด่นตรงที่การเล่าเรื่อง ที่เหมือนกับเล่าคนโน้นทีคนนี้ทีแบบไม่ปะติดปะต่อกัน แต่สุดท้ายพอมารวมกันปุ๊บ หนังจบปุ๊บ โห เราทะลุเลยพวก กาย ริตชี่ พวก (โรเบิร์ต) โรดริเกวซ ก็ชอบ แต่โรดริเกวซพักหลังเข้าหาตลาดมากไป พี่ก็เลยรู้สึกว่า เออ มันตลาด สุดท้ายแล้วพี่ก็ชอบเขาตอน Sin City แต่ Sin City ก็ต้องให้เครดิตคนเขียนการ์ตูนมากกว่าโรดริเกวซอยู่ ดี มาถึงหนังแอ็คชั่นอีกเรื่อง องค์บาก? นี่อาจจะเพราะพี่รู้จักกับพี่ปรัชด้วย แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด ตอนดูครั้งแรก เรารู้สึกทึ่ง คนทำหนังไทยมันขนาดนี้เลยเหรอ ดูปุ๊บแล้วความภูมิใจในหนังไทยมันแน่นขึ้นมาทันทีเลย คนไทยแม่งเก่งว่ะ มันคือความภูมิใจว่าเขาทุ่มเทกับการทำหนังกันขนาดนี้ และเป็นความภูมิใจอีกด้านนึงในการที่มันหนีสูตรน่ะ ว่าพระเอกแม่งต้องหล่อ พระเอกต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องดูดีมันหนีสูตรทุกอย่างเลย แล้วก็บ้านๆ มาก เนื้อเรื่องคือคนอีสานมีปัญหา เป็นหนังที่หักปากกาเซียนที่บอกว่า เอา จา พนม เล่น เจ๊งแน่ๆ เพราะจาไม่หล่อ อันนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้องค์บากเด้งออกมาจากอีกบริษัทนึง เพราะพี่ปรัชเขายืนยันว่าจะต้องเป็นจา แล้วหนังที่มีพระเอกเป็นอีสานๆ บ้านๆ มีตัวตลกคือพี่หม่ำ แถมยังเป็นหนังที่เกิดขึ้นมาในยุคที่หนังแอ็คชั่นมันแหวะน่ะ(หัวเราะ) แบบมาผิดยุค แล้วก็กล้าที่จะบอกว่า ไม่ใช้สแตนอิน ไม่ใช้สลิง อะไรเนี่ย มันเป็นหนังที่กล้า ซึ่งตัวเรื่องมันก็สูตรนั่นแหละ แต่คิดว่าเป็นหนังที่กล้าฉีกแล้วก็สร้างความภูมิใจให้กับเรา เวลาเราไปต่างประเทศ พอพูดคำว่า องค์บาก ทุกคนรู้จักหมด หรือเวลาเราบอกว่ามาจากประเทศไทย เขาก็จะเฮ้ยองค์บากนี่ เหมือนกับว่ามันเป็นโลโก้ของคนไทย หรือเป็นหัวข้อเวลาเราไปพูดกับฝรั่ง ถึงบอกว่ามันคือสิ่งที่เราภูมิใจในความเป็นคนไทย สังเกตว่าลิสท์หนังที่เลือกมาดูจะแบ่งเป็นประเภทๆ ชัดเจน? เหตุและผลของพี่คือ พี่เป็นคนที่ดูหนังได้เกือบทุกแนว แล้วหนังที่ชอบก็คือหนังที่มีความเป็นตัวของตัวเอง เป็นการจุดประกายของผู้กำกับ มันเป็นมาส-เตอร์พีซในแต่ละเรื่อง พี่จะชอบหนังที่บ่งบอกคาแรกเตอร์ของผู้กำกับแน่ๆ ที่ผ่านมาเป็นหนังแอ็คชั่น แต่ก็มีหนังอย่าง Always กับ แฟนฉัน ที่ออกแนวซึ้งๆ รำลึกอดีตสองเรื่องนี้เหมือนกันเลย เอามาจับคู่ได้ดีมาก สองเรื่องนี้เล่าเรื่องชนบท เล่าเรื่องแบบ Nostalgia (รำลึกถึงอดีต) เวลาดูจะรู้สึกเหมือนกับลดอายุเราลงเด็กลงมันสะท้อนอะไรบางอย่างในความคิดของเด็ก ความคิดของผู้ใหญ่ เรื่องทะเลาะของเด็กบางเรื่องยิ่งใหญ่นะ เรื่องบางเรื่องที่เราอาจจะมองข้าม หรือผู้ใหญ่มองว่าใหญ่ แต่เด็กมองว่า นี่อะไร อย่างใน Always ที่เด็กคิดพล็อตการ์ตูนแต่โดนขโมย คนเขียนการ์ตูนไม่กล้าบอกว่าขโมยพล็อตไป สุดท้ายพอบอกแล้วเด็กร้องไห้ดีใจที่เอาพล็อตไป คนจะได้เห็น มันคิดแค่สุดท้ายขอให้เรื่องออกมาอยู่ในหนังสือการ์ตูนก็ดีใจแล้ว ไม่ต้องมีชื่อก็ได้ หรือแฟนฉัน ที่พูดถึงเรื่องราววัยเด็ก การทะเลาะเบาะแว้งของเด็กๆตอนที่ดู พี่รู้สึกว่า เราอินกับ Always มากกว่าแฟนฉัน แต่แฟนฉันเหมือนกับชีวิตในวัยเด็กของเรา มันใกล้ตัวเรามาก บ้านสองหลัง พ่อแม่ทะเลาะกัน เรื่องมันจุ๊กจิ๊กใกล้ตัว เราก็รู้สึก เออ ผู้กำกับเขาสามารถทำหนังเรื่องนี้ออกมา โดยที่ตัวเรื่องไม่มีอะไร แต่ทำให้เรายิ้ม หัวเราะ ร้องไห้ ทำให้ประทับใจ คือมันเอาอารมณ์อยู่ แต่ Always มันมีอะไรในเนื้อหาเยอะ มันเล่าเรื่องของชุมชนที่กำลังจะโตเหมือนกับยุคนี้ ที่เศรษฐกิจแย่แล้วต่างคนต่างเอาตัวรอด ต้องแก่งแย่งเพื่อจะเอาตัวรอด แต่พวกเด็กๆ กลับไม่ได้คิดแบบนั้น เด็กก็มีความฝันของเขาแบบเด็กๆซึ่งมันบริสุทธิ์กว่าผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่มันจะเอาตัวรอด แต่เด็กไม่ได้คิดถึงขนาดนั้น ถึงบอกว่าหนังสองเรื่อง มันพูดถึงแนวความคิดของเด็กน่ะ ที่สะท้อนให้เห็นว่าบางทีสิ่งที่ผู้ใหญ่ทำกันเนี่ย เคยคิดกลับไปไหมว่าตอนสมัยเป็นเด็กน่ะ เด็กมันมีความคิดที่บริสุทธิ์กว่า มันใสกว่านะ สองเรื่องนี้คล้ายกันในความคิดของพี่นะ พี่คิดว่าระหว่างความเป็นหนังไทยกับหนังญี่ปุ่นต่างกันยังไงครับ? แฟนฉันเล่าเรื่องที่ตื้นกว่า จริงใจมากกว่า แฟนฉันเปรียบเสมือนหนังอินดี้ที่จริงใจกับการเล่าเรื่องมากๆ แต่ Always เขาสมบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีการสร้าง ใช้เทคนิคการสร้างหนังทุกอย่าง คนดูก็อินกับภาพต่างๆ สองเรื่องนี้ที่พี่มองว่าต่างกัน พี่มองว่าแฟนฉันเล่าเรื่องจริงใจมากๆ เป็นหนังที่ผู้กำกับจริงใจกับมัน ทำออกมาอย่างบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้คิดอะไร เป็นงานบริสุทธิ์ ส่วน Always เป็นงานที่สมบูรณ์แบบทางโปรดักชั่น เทคนิคต่างๆ และสมบูรณ์แบบทางด้านของบทภาพ-ยนตร์ ด้วย เป็นหนังสมบูรณ์ แต่แฟนฉันไม่ได้สมบูรณ์เป๊ะๆ แต่จริงใจ มันซื่อน่ะ อย่างนี้ไม่ชอบ แค่เพื่อนค่ะพ่อ เหรอครับ? (หัวเราะ) แค่เพื่อนฯ น่ะเกือบจะเจ๋งแล้วล่ะ ติดที่แคสติ้งกับแอ็คติ้ง ถ้าได้แอ็คติ้งกับแคสติ้งที่ดีจะดีกว่านี้ มันซื่อแต่ยังขาดความจริง ดูแล้วยังไม่ค่อยเชื่อไม่เหมือนกับแฟนฉันที่เราดูแล้วเชื่อ มาถึงหนังเหงาๆบ้าง Leaving Las Vegas กับ Last Life in the Universe? เหมือนกันอีกแล้ว จับคู่กันได้อีกแล้ว (หัวเราะ) หนังเหงาๆ ที่พูด ถึงคนที่กำลังจะตาย ทั้งคู่เลยนะ พูดถึงคนที่หมดหวังในชีวิต แต่มีความรักขึ้นมาในช่วงสุดท้ายของชีวิต แค่นั้นน่ะ เหมือนกับคนที่ชีวิตไม่มีอะไร คิดแล้วตัวเองคงอยู่ในโลกนี้ไม่ได้ แต่สุดท้ายแล้ว มันบอกว่า คนจะอยู่ได้ต้องมีความรัก คนเราอยู่ได้เพราะความรัก ซึ่ง Leaving Las Vegas สุดท้ายแล้วพอพระเอกรู้สึก มีความรักก็รู้สึกว่า กูชักไม่อยากตายแล้วน่ะ แล้วผู้หญิงคนนี้ถ้าจะเปรียบในสังคม น่ะมันด้อยค่ามาก เป็นกะหรี่ข้างถนนที่ไม่มีใครสนใจ แต่มาหลงรักพระเอกที่เป็น Alcoholic ถึงขั้นตายแล้ว และก็ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ แล้วผู้หญิงคนนี้ก็ไม่ได้มองว่าตัวเองต้องมีเรื่องเซ็กส์ เป็นความรักที่บริสุทธิ์มาก เป็นคนที่ชีวิตล้มเหลว สองคนมาเจอกัน พี่ถือว่ามันเป็นหนังโคตรโรแมนติกเลยในความรู้สึกพี่ แล้ว นิโคลัส เคจ กับ อลิซาเบ็ธ ชู เล่นโคตรดีน่ะ หลังจากนั้นก็ไม่เคยเจอนิโคลัส เคจในแบบนี้อีกแล้ว หายไปแล้ว (หัวเราะ) Last Life เนี่ย ชอบเรื่องราวของเขา ชอบการวางภาพต่างๆ พี่มองว่าต้อมใน Last Life นี่เขาบรรลุอะไรบางอย่างน่ะ (หัวเราะ) นิ่งๆ นอนโซฟา อะไรอย่างนี้ ดูแล้วรู้สึกเหมือนตัวเองในวันที่รู้สึกท้อแท้ เราก็รู้สึกเหมือนกับในหนังสองเรื่องนี้มันเล่าเรื่องคล้ายๆ กัน เรื่องของคนไม่มีค่า คนที่รู้สึกท้อแท้ หมดหวังแล้วหนังของพี่ต้อม เป็นเอก เรื่องอื่นๆล่ะครับก็ชอบไล่มาเลยนะตั้งแต่ ฝัน บ้า คาราโอเกะ มันเหมือนกับหนังพี่ต้อมเติบโตไปพร้อมกับเรา ตอนเราชอบฝันบ้าฯ เราก็ไม่ได้โตอะไรขนาดนั้น พี่ต้อมก็ไม่ได้โตเหมือนกัน แล้วพอเขามาทำ เรื่องตลก 69 เราก็เริ่มโตขึ้น เราก็รู้สึก เออ เราชอบตลก 69 เราไม่ค่อยชอบฝันบ้าฯ แล้วพอเขามาทำ มนต์รักทรานซิสเตอร์ เราก็ชอบมนต์รักฯ - ตลก 69 เราก็เอ๊ะ เฉยๆ แล้ว แต่พอมา Last Life นี่เขาไปไกลมาก แต่ที่ไกลสุดก็คือ Invisible Waves อันนี้ไปไกลกว่าเราเยอะแล้ว (หัวเราะ) ชอบพี่ต้อมทุกเรื่อง แต่ที่ชอบที่สุดคือ Last Life ชอบอารมณ์ของหนังเขา มันสะท้อนความเหงาได้ที่จริงอยากจะมีอีกเรื่องนึงนะ คือเรื่อง เฉิ่ม (คงเดช จาตุรันต์รัศมี, พศ.2548) แต่เรื่องเฉิ่มติดอยู่นิดนึง คือพี่หม่ำยังแกล้งไปหน่อยน่ะ คือพี่ยังไม่เชื่อว่าหม่ำเป็นคนขับแท็กซี่ แล้วนุ่นก็เป็นหมอนวดที่เรียบร้อยมาก ไม่เหมือนที่พี่เชื่อ Taxi Driver แต่ก็ชอบนะ พี่รู้สึกอย่างไรกับสังคมสมัยใหม่ จากประเด็นที่พูดในหนังของพี่? พี่พูดถึงเทคโนโลยี การที่คนยึดติดกับเทคโนโลยีมาก จนทำให้ตอนนี้เทคโนโลยีมาทำร้ายคนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสื่อสารต่างๆ ที่เราทำๆ กัน ซึ่งเมื่อก่อนไม่ว่าจะเป็นเกมโชว์ เรียลลิตี้ มันไม่เป็นลักษณะ Interactive เราเป็นวันเวย์ เป็นผู้เสพอย่างเดียวเดี๋ยวนี้เป็นทูเวย์แล้วนะ มันโต้ตอบได้ แล้วไอ้การโต้ตอบเนี่ย ถ้าไม่สร้างกรอบป้องกันดีๆ มันจะเป็นผลร้ายเยอะมาก เดี๋ยวนี้อะไรในโทรทัศน์ก็มีอะไรขึ้นๆ SMS อะไรก็ขึ้นๆๆ แม้กระทั่งอันนึงที่พี่เห็นข่าวทหารที่ใต้ แย่มาก ศพบางศพกางเกงหลุด ภาพมันอุจาด คือเขาไม่ห่วงญาติพี่น้องเลยเหรอว่า นั่นพ่อเขา ญาติพี่น้องเขานะ เขาสะเทือนใจยังไง ถ้าเป็นญาติพี่น้องของเราบ้างมันจะน่าสะเทือนใจขนาดไหนคือตอนนี้พี่รู้สึกว่าสื่อต่างๆ ขาดความยั้งคิดในเรื่องแบบนี้ เอาแค่เรื่องเรตติ้ง เอาแค่ผลประโยชน์อย่างเดียว เหมือนอย่างวิดีโอคลิปที่เอาเรื่องส่วนตัวของเขามาสร้างผลประโยชน์ให้ตัวเอง ใครอยากโหลดคลิปมาเว็บนี้ก็จ่ายเงินไป พี่ก็เลยมองอย่างนี้ คนมันไม่ค่อยเกรงใจกัน ไม่รู้จักว่าอันไหนเป็นเรื่องส่วนตัว อันไหนเป็นเรื่องส่วนรวม มันปนกันหมด คำถามสุดท้าย ทำไมถึงหลงใหลในภาพยนตร์ครับ? ภาพยนตร์เนี่ย มันเหมือนศาสตร์ที่สะกดจิตคนน่ะ มันคือการสร้างโลกให้คนเชื่อ พี่หลงใหลตรงที่มันสร้างโลกๆ หนึ่งขึ้นมาได้ แล้วทำให้คนเข้าไปอยู่ในโลกนั้น กระบวนการคิดต่างๆ มันอยู่ในหัวของเราพอดูหนังเรื่องนี้จบ เชื่อไหม เราก็ยังไม่ลืม อย่างหนังที่พี่ลิสท์รายชื่อมา พี่ไม่ลืมตัวละครมันนะ ไม่ลืมเรื่องราว มันก็ยังวนเวียนอยู่ในหัวสมองเรา มันทำได้ยังไง ถ้ามันไม่ได้เป็นศาสตร์ที่สะกดจิตเราจะมีความสุขเวลาทำหนังแล้วเรารู้สึกว่า เนี่ย เราวางเป้าไว้แล้วคนดูๆไป ปึ๊บ มันต้องหัวเราะ คนดูหัวเราะ เราก็ดีใจ แสดงว่า เราสะกดจิตได้ แต่ถ้าดูแล้วเงียบปึ๊บ โห พลาด หรือบางทีเราจะทำให้คน ตกใจแต่เขาดันหัวเราะ เราก็แบบ โห พลาดว่ะ นั่นแหละมันเป็นการสะกดจิต มันเป็นสิ่งที่ศึกษา ลองผิดลองถูกได้ไม่มีวันหมดคิดอยากทำอะไรก็คิดได้ไกลมาก กว้างมาก รวมทุกอย่างในโลกนี้ ไม่น่าเบื่อ สนุกกับการได้คิดอะไรใหม่ๆ พอเปิดหนังเรื่องใหม่จะรู้สึก

สนับสนุนเนื้อหาโดย

อัลบั้มภาพ 14 ภาพ

อัลบั้มภาพ 14 ภาพ ของ ย้อนดูหนังในดวงใจ ภาคภูมิ วงษ์จินดา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook