หนังฮ่องกง สูญ 2 พันล้าน เพราะ YouTube

หนังฮ่องกง สูญ 2 พันล้าน เพราะ YouTube

หนังฮ่องกง สูญ 2 พันล้าน เพราะ YouTube
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Ip ManIp Man

สูญ 2 พันล้าน เพราะ YouTube


กลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว ที่เราจะสามารถพบเห็นหนังฮ่องกงความยาวเต็ม ๆ เรื่องถูกอัพโหลดให้ได้ชมกันบน YouTube เว็บไซต์วิดีโอแชร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก บางเรื่องยังมีซับไตเติ้ลภาษาท้องถิ่นให้ได้อ่านกันด้วย และยังไม่นับรวมคลิปสั้น ๆ จากหนังฮ่องกงอีกกว่า 200 เรื่องที่ถูกซอยตัดมาลงกันอย่างเอิกเกริก สมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติฮ่องกง (MPIA) ประเมินตัว เลขคร่าว ๆ แล้ว การละเมิดลิขสิทธิ์ในลักษณะนี้ (เฉพาะ YouTube แห่งเดียว) ก็ทำเอาอุตสาหกรรมหนังในฮ่องกงสูญเงินไปถึง 2.4 พันล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 9.6 พันล้านบาทไทย) เลยทีเดียว และตัวแทนจาก MPIA ก็ออกมากระตุ้นให้ YouTube และเว็บไซต์วิดีโอแชร์ทุกแห่งให้รีบปฏิบัติตามคำสั่งของศาลเยอรมันที่เพิ่งประกาศเมื่อศุกร์ที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา โดยชี้ขาดว่า ให้เว็บไซต์เหล่านี้ (หลัก ๆ คือ YouTube) ถอดงานที่มีผู้ถือลิขสิทธิ์ออกให้หมด

Love in a BuffLove in a Buff

Love in a Buff

ต้องเท้าความสักเล็กน้อยว่า เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา GEMA บริษัทตัวแทนผู้ถือลิขสิทธิ์เพลงในเยอรมัน ยื่นเรื่องต่อศาลฮัมบวร์กว่า YouTube นั้นกระทำการปล่อยสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ก่อให้เกิดความเสียหายมหาศาลต่อธุรกิจดนตรี และผ่านไปไม่นาน ศาลก็ตัดสินชี้ขาดให้ต่อไปนี้ YouTube (ในความดูแลของบริษัทแม่อย่าง Google) จำเป็นต้องใช้โปรแกรมกรองคลิปเสียงและภาพทุกประเภทก่อนที่จะปล่อยลงเว็บไซต์เสียก่อนว่า เป็นสินค้าที่มีผู้ถือสิทธิ์อยู่หรือไม่

กลับมายังฮ่องกง เหตุที่ MPIA เพิ่งไหวตัวทันเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาจากกรณีที่บริษัท มีเดีย เอเชีย พยายามส่งหนังสือไปยัง YouTube ให้ถอดคลิปหนังเรื่อง Love in a Buff ออกจากเว็บไซต์ เนื่องจากคลิปวิดีโอ (ที่ยาวตั้งแต่หนังเริ่มจนหนังจบ) เป็นวิดีโอที่แอบถ่ายจากในโรงภาพยนตร์ ทั้ง ๆ ที่ภาพยนตร์ของ ปังโหเฉิง เรื่องนี้เพิ่งเข้าฉายได้ไม่กี่สัปดาห์ และส่งผลกระทบต่อรายได้ของหนังโดยตรง ที่สำคัญ Love in a Buff เป็นหนังที่มีเดีย เอเชียหวังว่าจะเป็นตัวโกยรายได้ประจำปีของสตูดิโอ

A Simple LifeA Simple Life

A Simple Life

จอห์น จง โปรดิวเซอร์ของ Love in a Buff เล่าให้ฟังว่า เขาส่งหนังสือไปแจ้ง YouTube แล้ว แต่ไม่มีการตอบรับใด ๆ กลับมา จนเวลาผ่านไปหลายวันทางเว็บไซต์ถึงได้ระงับการเข้าชมคลิปดังกล่าว ซึ่งในเชิงธุรกิจการล่าช้าไป 1 วันก็หมายถึงเม็ดเงินอันประเมินค่ามิได้ "YouTube ไม่แยแสกับเรื่องคลิปละเมิดลิขสิทธิ์เลย แถมยังไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายอีกด้วย"

"YouTube แจ้งกลับมาว่า ผู้ที่แจ้งลบจำเป็นต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ให้แน่ชัดว่าเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์
จริง ๆ ซึ่งมันต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ เรามองว่ามันเป็นเรื่องไม่จำเป็นและไร้เหตุผลสิ้นดี" ไบรอัน จุง เลขาธิการสมาพันธ์ภาพยนตร์ฯ ให้สัมภาษณ์

และจุดเริ่มต้นจาก Love in a Buff นั่นเองที่ทำให้เจ้าหน้าที่จาก MPIA ได้พบคลิปหนังฮ่องกงอีกหลายเรื่องบนเว็บไซต์แห่งเดียวกันนั้น ภายในเวลา 3 วัน พวกเขาพบคลิปที่ละเมิดลิขสิทธิ์ไปแล้วกว่า 200 คลิป และจำนวนหนึ่งเป็นหนังใหม่ที่เพิ่งเข้าชิงรางวัลฮ่องกงฟิล์มอวอร์ด อย่าง A Simple Life ของ แอน ฮุย และ The Flying Swords of Dragon Gate ของ ฉีเคอะ หนังฮิตอย่าง Ip Man ก็ถูกพบว่ามีอยู่ถึง 107 คลิปด้วยกัน หรือหนังฉาวอย่าง Lan Kwai Fong ซึ่งเพิ่งออกแผ่นเมื่อไม่นานมานี้ แต่มียอดผู้ชมสูงถึง 1.8 ล้านครั้ง หรือคลิปฉากต่อสู้ของ บรูซ ลี ในหนังคลาสสิกอย่าง Way of the Dragon ก็มีจำนวนผู้เข้าชมสูงถึง 4.8 ล้านครั้ง

The Flying Swords of Dragon GateThe Flying Swords of Dragon Gate

The Flying Swords of Dragon Gate

MPIA จึงคำนวณจากจำนวนผู้เข้าชม คูณกับราคาตั๋วหนังมาตรฐาน (ประมาณ 60 เหรียญฮ่องกง) จึงพบว่าอุตสาหกรรมหนังฮ่องกงต้องเสียรายได้ไปราว ๆ 2.4 พันล้านเหรียญฯ อย่างที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น

ไบรอัน จุง ยังกล่าวเสริมอีกด้วยว่า "YouTube เป็นเว็บไซต์ที่ใหญ่ ควรจะมีมาตรการรัดกุมในการควบคุมมากกว่านี้ แล้วทีมงานไม่ไตร่ตรองเลยหรือว่า เจ้าของลิขสิทธิ์ที่ไหนกันจะเอาหนังทั้งเรื่องมาแชร์ให้ดูฟรี ๆ ทั้ง ๆ ที่หนังยังฉายในโรงอยู่ มันไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย"

Lan Kwai FongLan Kwai Fong

Lan Kwai Fong

จุงยังให้ความเห็นต่อไปว่า YouTube และเว็บไซต์วิดีโอแชร์อื่นๆ ควรตระหนักถึงจรรยาบรรณเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาให้มากกว่านี้ แต่ปัญหาก็คือ YouTube นั้นเป็นบริษัทลูกของ Google เสิร์ชเอ็นจินที่ใหญ่ที่สุดในโลกอินเตอร์เน็ต และนโยบายของ Google นั้นชัดเจนว่า พวกเขาไม่เห็นด้วยกับกฎหมายลิขสิทธิ์ ซึ่งหมายถึง พวกเขายินยอมให้มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาได้โดยเสรี ไบรอัน จุงจึงสรุปอย่างสลด ๆ ว่า มองในฐานะผู้ประกอบการแล้ว ก็มีแต่เสียกับเสีย

แน่นอน แม้ศาลเยอรมันจะมีคำสั่งออกมาเช่นนั้น แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การคาดหวังให้ YouTube ยินยอมร่วมมือแบบเต็มประสิทธิภาพ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะแม้แต่ในสหรัฐอเมริกาเอง ก็ยังสะสางปัญหานี้ไม่เสร็จสิ้นเรื่องกฎหมาย SOPA (พ.ร.บ.ว่าด้วยการห้ามเผยแพร่สินค้าลิขสิทธิ์ในอินเตอร์เน็ต)

Lan Kwai FongLan Kwai Fong

Lan Kwai Fong

คนในวงการหนังฮ่องกงจึงได้แต่คอตกไปตาม ๆ กัน และการออกมาเรียกร้อง หรือกระพือให้เกิดข่าว ก็ทำได้แค่ให้คนทั่วไปหันมาตระหนักถึงปัญหานี้ รวมถึงเห็นใจผู้ประกอบการบ้างก็เท่านั้นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook