วิจารณ์ Into the Strom

วิจารณ์ Into the Strom

วิจารณ์ Into the Strom
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิจารณ์ Into the Strom 

 

เราก็ไม่ค่อยจะแน่ใจอีกเหมือนกันว่าทำไมหนังภัยพิบัติจึงมักจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในประเทศไทยอยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังอุกาบาตถล่ม, ภูเขาไฟระเบิด, คลื่นยักษ์, ฝูงซอมบี้, น้ำท่วมโลก, เชื้อมรณะ และอะไรต่อมิอะไรมากมาย อาจจะเป็นเพราะว่ามนุษย์เรามักชื่นชอบที่จะเห็นความหายนะ ฉิบหาย ย่อยยับของมวลมนุษยชาติ ซึ่งบ่อยครั้งเราก็มักจะมีอารมณ์ลุ้นเอาใจช่วยเหล่าตัวละครในเรื่องให้เอาตัวรอดจากหายนะภัยที่เกิดขึ้น

แต่สำหรับ Into The Strom นั้นแม้ว่าหนังจะพยายาม “หากลวิธี” เล่าเรื่องให้ไม่ซ้ำซากตามสไตล์หนังโลกาวินาศ ด้วยการใช้ “หลากหลายมุมกล้อง” เพื่อสะท้อนภาพเหตุการณ์ที่ตัวละครในเรื่องต้องเผชิญหน้ากับพายุทอร์นาโดที่ถล่มเมืองอย่างบ้าคลั่งนั้น เราก็จะพบกับหลักความจริงที่ว่าหนังเลือกจะโกงความจริงกับคนดู จนเราอนุมานได้ว่าผู้กำกับสตีเฟ่น ควิลล์ที่ผ่านการกำกับ Final Destination 5 มานั้นโกงคนดูทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น

 

 

 

1.หนังใช้มุมกล้องจากตัวละครและกล้องต่างๆในเมือง – แต่บางครั้งหนังก็โกงคนดูด้วยการใช้ภาพในมุมที่ไม่น่าจะมีกล้องจะไปอยู่ในมุมดังกล่าว อาทิภาพที่มองลงมาจากท้องฟ้าลงมายังพื้นดิน (บางทีอาจจะเป็นกล้องจากดาวเทียม หรือ พระเจ้าอาจจะถือกล้องดิจิตอลถ่ายวิดีโอเล่นอยู่) 

 

 

2.ทอร์นาโดในเรื่องปราศจากความเป็นจริงทางอุตุนิยมวิทยา – มีที่ไหนกันฟ้าอยากจะผ่าตรงไหนก็ได้ ลมจะหมุนตรงไหนก็ได้ แถมพายุหมุนก็เปลี่ยนทิศทางและตาพายุได้ตามอารมณ์คนสร้างหนัง ประมาณว่าตัวละครจะต้องขับรถผ่านตรงนี้แล้วนะ ผ่าๆหมุนๆไปซักหน่อยคนดูจะได้ลุ้นใจหายใจคว่ำ หายใจไม่ทั่วท้องก่อนจะจบซีนนั้นๆด้วยการที่ให้ลมหยุดพัดไปซะดื้อๆ ประมาณว่าจบฉากแล้วพวกเธอพักเหนื่อยหายใจกันได้แล้วจ๊ะ 

 

 

3.ตัวละครในเรื่องมีพฤติกรรมแปลกประหลาด – ปกติมนุษย์เราจะมีสัญชาติญาณในการเอาตัวรอดกันอยู่ทุกคน แต่ตัวละครในเรื่องที่สร้างออกมาได้พิลึกพิลั่นยิ่งนัก (เว้นไว้ให้สำหรับบทคุณพ่อผู้รักลูก และคุณแม่นักวิจัยพายุ ที่ยังพอมีสติสัมปชัญญะอยู่บ้าง) ยกตัวอย่างเช่น ตัวละครตากล้องมือใหม่ ที่พบจุดจบอย่างน่าอนาจในเรื่องนั้น เราก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าเราควรจะเอาใจช่วยให้เขารอดชีวิต หรือสาปส่งให้เขาตายๆไปได้เสีย เนื่องจากตัวละครนี้เกิดประสาทหรือผีสางอะไรเช้าสิงขึ้นมาเราก็ไม่อาจจะทราบได้ เมื่อจู่ๆเขาก็วิ่งเข้าไปหาทอร์นาโดที่กำลังไฟลุก ด้วยการถือกล้องไปเข้าใกล้ในระดับ 10 เมตร (แกจะได้ภาพอะไรในกล้องในระยะ 10 เมตร ถ่ายระยะไกลภาพมันจะออกมาไม่ดูดีกว่าหรอ ? เธอจบนิเทศศาสตร์มาหรือเปล่า ?) ลงเอยด้วยการที่ตัวละครนี้ก็ตายตกไปตามๆกัน ก่อนที่ตัวละครอื่นจะมานั่งโบ้ยว่าเป็นความผิดของใคร และก็ยืนสำนึกผิดอยู่ในโบสถ์ประหนึ่งว่าตัวละครมีมนุษยธรรม (ฉากภาคบังคับจริงๆ) 

 

 

 

อย่างไรก็ตามเราไม่ ปฏิเสธว่างานด้านเทคนิคพิเศษของหนังเรื่องนี้ทำออกมาได้ตื่นตาตื่นใจพอสมควร ผนวกกับระบบเสียงที่ทำให้เราลุ้นไปกับเหตุการณ์ในช่วงเวลาที่ทอร์นาโดอยู่บนจอหนังได้เป็นอย่างดี แต่น่าเสียดายเหลือเกินที่องค์ประกอบแวดล้อมอื่นๆนั้น ค่อนข้างน่าผิดหวังและอยู่ในระดับที่เรามักจะคุ้นชินกับหนังประเภทนี้มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน

สิ่งที่เป็นใจความหลักและน่าจะจำที่สุดสำหรับ Into the Strom ก็คือการที่หนังพยายามจะบอกคนดูว่า “ใช้ชีวิตวันนี้ให้ดีที่สุดก็พอ เพราะอีก 25 ปีข้างหน้านั้นมันเป็นอนาคต” 

 

ให้ 2 คะแนนจาก 5 คะแนน 

@พริตตี้ปลาสลิด 

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ ของ วิจารณ์ Into the Strom

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook