เกร็ดน่ารู้ ก่อนดู Planes: Fire & Rescue

เกร็ดน่ารู้ ก่อนดู Planes: Fire & Rescue

เกร็ดน่ารู้ ก่อนดู Planes: Fire & Rescue
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook



ตัวละคร

จากเครื่องบินพ่นยาสู่ฮีโร่ – เป็นที่รู้จักในนามของ SEAT (Single Engine Air Tanker) หรือเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงเครื่องยนต์เดี่ยว เป็นหนึ่งในเครื่องบินรุ่นแรกๆ ที่ใช้ต่อสู้กับไฟป่าทางอากาศ เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงเครื่องแรกเป็นเครื่องบินพ่นยาฆ่าแมลงที่ถูกดัดแปลงใหม่ และมันก็ปฏิบัติการครั้งแรกด้วยการดับไฟป่าที่อุทยานแห่งชาติเมนโดซิโนในปี 1955

 

 

 

 

แรงบันดาลใจสู่ยานพาหนะ—แบบดีไซน์ยานพาหนะจำนวนมากในภาพยนตร์เรื่อง “Planes: Fire & Rescue – เพลนส์: ผจญเพลิงเหินเวหา” ได้แรงบันดาลใจ (ส่วนหนึ่ง) จากเครื่องบินหลายๆ แบบ

ดัสตี้ คร็อปฮ็อปเปอร์ ได้แรงบันดาลใจจากเครื่องบินแอร์ แทร็คเตอร์ 502, เซสนาและแอร์ โดรเมเดอร์

แบบดีไซน์ของวินด์ลิฟเตอร์ได้แรงบันดาลจากเครื่องซิคอร์สกี้ สกายเครน, เครื่องคามอฟ KA-26 และเครื่องมิล MI-10

แบบดีไซน์ของเมย์เดย์ รถดับเพลิงประจำแยกพร็อพวอชนำเค้าโครงมาจากรถฟอร์ดสัน เทนเดอร์ ปี 1943

แบบดีไซน์สำหรับแค็บบี้ อดีตเครื่องบินขนส่งทหาร มีเค้าโครงจากเครื่องบิน C-119 

รถยนต์ฟอร์ด บรองโก้ ปี 1968 เป็นแรงบันดาลใจสำหรับแบบดีไซน์ของรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย

 

 

 

 

เล่นสกปรก— ทีมผู้สร้างต้องการจะทำให้แน่ใจว่าผู้ชมจะรู้สึกได้ว่าแค็ด สปินเนอร์ ผู้อำนวยการสวนสาธารณะ เหม็นเน่าแค่ไหน พวกเขาก็เลยวางถังขยะหรือกองขยะไว้ใกล้ๆ รถ SUV คันนี้ในเกือบทุกช็อตที่เขาปรากฏตัว

การควบคุมเฮลิคอปเตอร์—สองตัวละครหลักในภาพยนตร์เรื่องนี้คือเฮลิคอปเตอร์ ดังนั้น ทีมผู้สร้างก็เลยขอความช่วยเหลือจากนักบินเฮลิคอปเตอร์ผาดโผนที่โด่งดังระดับโลก ชัค แอรอน เพื่อทำให้แน่ใจว่าพวกเขาจะนำเสนอภาพการบินเฮลิคอปเตอร์ออกมาอย่างสมจริง เบลด เรนเจอร์ได้โชว์ลีลากลางเวหา ที่ได้รับการพิจารณาและยอมรับจากแอรอนมาแล้ว

อเมริกัน อินเดียน— ในการรับประกันความสมจริงให้กับวินด์ลิฟเตอร์ และแสดงความเคารพต่อชุมชนอเมริกันอินเดียน ทีมผู้สร้างได้ขอความช่วยเหลือจากดร.พอล อโพดากา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการศึกษาอเมริกันที่มหาวิทยาลัยแชปแมนในเซาเธิร์น แคลิฟอร์เนีย

รักแท้— คู่รักจริงๆ เจอร์รี สติลเลอร์และแอนน์ เมียรา ถูกเรียกตัวมาช่วยเนรมิตชีวิตให้กับคู่รักพราวเสน่ห์ ฮาร์วีย์และวินนี

ชิปช็อป—อีริค  เอสทราดาแสดงความเคารพต่อบทตำรวจทางหลวง แฟรงค์ พอนเชเรลโล ตัวละครที่เขาแสดงมาตลอดหกปี ด้วยการพากย์เสียงนิค “ลูปิน” โลเปซ เฮลิคอปเตอร์ตำรวจใน CHoPs ซีรีส์ยุค 70s ที่ฉายอยู่ใน “Planes: Fire & Rescue – เพลนส์: ผจญเพลิงเหินเวหา”

 

 

 

 

ฉาก

อุทยานแห่งชาติ—ฉากของภาพยนตร์เรื่องนี้ได้แรงบันดาลใจจากองค์ประกอบต่างๆ ในอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง รวมถึงโยเซมิตี้และเยลโลว์สโตน

• โจนาธาน จาร์วิส ผู้อำนวยการอุทยานแห่งชาติ ได้รับเชิญให้ไปเยือนดิสนีย์ตูน สตูดิโอส์ เพื่อชมภาพยนตร์เรื่องนี้  เขารู้สึกตื่นเต้นกับการใส่ใจรายละเอียดในภาพยนตร์เรื่องนี้ เช่นการจัดวางเก้าอี้โยกไว้ตรงหน้าเตาผิง

• โรงแรมโอลด์ เฟธฟูลในเยลโลว์สโตนเป็นแรงบันดาลใจสำหรับแกรนด์ ฟูเซล ล็อดจ์ในเรื่อง

• สถานีรถไฟที่ติดกับแกรนด์ ฟูเซล ล็อดจ์ได้แรงบันดาลใจมาจากสถานีจริงๆ ที่เคยอยู่ใกล้กับทางออกทิศเหนือและถูกออกแบบโดยโรเบิร์ต รีมเมอร์ สถาปนิกของโรงแรมโอลด์ เฟธฟูล


ดียิ่งกว่าของใหม่— ตามธีมของโอกาสครั้งที่สองและจากการสังเกตการณ์ของทีมผู้สร้างระหว่างทริปค้นหาข้อมูลที่สถานีดับเพลิงทางอากาศ ฉากส่วนใหญ่สำหรับฐานทัพจู่โจมทางอากาศพิสตัน พีคร้างขึ้นจากโครงสร้างที่ถูกดัดแปลงใหม่ ทีมผู้สร้างได้เรียนรู้ว่าปกติแล้ว พวกเขาจะประหยัดงบประมาณด้วยการนำของบางอย่างกลับมาใช้ใหม่ พวกเขาก็เลยปฏิบัติแบบเดียวกันใน “Planes: Fire & Rescue” มารุกลายเป็นผู้นำในเรื่องการดัดแปลงที่ว่านี้ โดยเขายึดถือคติที่ว่า “ดียิ่งกว่าของใหม่”

หมายเลขนำโชค— เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อเพื่อนๆ ที่ฐานทัพจู่โจมทางอากาศ เฮลเม็ท-ไรอัน ในแคล ไฟร์ที่ซึ่งพวกเขาได้เดินทางไปค้นคว้าข้อมูล หมายเลข 301 ที่หางเครื่องของเบลดเป็นตัวเลขเดียวกับเฮลิคอปเตอร์ของเฮลเม็ท-ไรอัน  

 

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ เกร็ดน่ารู้ ก่อนดู Planes: Fire & Rescue

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook