วิจารณ์หนัง The Hunger Games: Mockingjay Part 1 : นอกสนามประลอง

วิจารณ์หนัง The Hunger Games: Mockingjay Part 1 : นอกสนามประลอง

วิจารณ์หนัง The Hunger Games: Mockingjay Part 1 : นอกสนามประลอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิจารณ์หนัง The Hunger Games: Mockingjay Part 1 : นอกสนามประลอง

 

 

เมื่อหนังในภาคนี้ไม่มีสนามประลองแห่งเกมล่าชีวิตอยู่อีกต่อไป ภายหลังจากการแข่งขันอันเข้มข้นใน Quarter Quell ครั้งล่าสุด ที่สาวน้อยผู้มากับไฟ แคทนิส เอเวอร์ดีน(เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์) ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลวงขึ้น และมันได้นำมาซึ่งจุดเริ่มต้นที่แท้จริงของสงครามที่แท้จริง ที่เธอจะไม่ยอมสยบต่อแคปปิตอลอีกต่อไป โดยมีแคทนิสในฐานะสัญลักษณ์ของ “ม็อคกิ้งเจย์” จะเป็นผู้นำในการลุกขึ้นต่อต้านครั้งนี้ร่วมกับ เกล(เลียม เฮมส์เวิร์ธ) เพื่อนรักจากเขต 12, ฟินนิค เพื่อนร่วมเกมจาก Quarter Quell และพลูตาร์ช เกมเมคเกอร์ที่ขอหักหลังแคปิตอล แต่ทุกอย่างไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เมื่อชายหนุ่มที่เคยต่อสู้เคียงข้างเธออย่างพีต้า เมลลาร์ค (จอช ฮัทเชอร์สัน) ต้องถูกแคปปิตอลจับเป็นตัวประกัน 

 

สิ่งที่น่าสนใจก็คือภาคนี้เคทนิสเองถูกผลักดันขึ้นมาเป็นตัวแทนผู้นำในการต่อต้านกับแคปปิตอล ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วตัวเธอเองก็เพิ่งจะบอบช้ำมาจากการที่ต้องรู้ความจริงว่าพีต้าถูกสโนว์จับตัวไปเป็นตัวประกัน ความสับสนและความซับซ้อนทางอารมณ์ของแคทนิสถูกเปิดเผยออกมาให้ผู้ชมเห็นว่าเธอก็เป็นปุถุชนคนหนึ่งที่ยังคงหวาดกลัวการถูกคุกคามอยู่ดี 

 

 

อันที่จริงแล้วแผนการปฏิวัติจะเกิดขึ้นและเป็นผลสำเร็จไม่ได้เลยถ้าหากตัวแคทนิสเองไม่ยอมต่อต้าน “กฎ” ในเกมล่าชีวิตภาคแรก นั่นยังไม่รวมไปถึงการที่เธอเลือกจะยิงธนูใส่สนามพลังในภาคถัดมา และแน่นอนเมื่อไฟแห่งการปฏิวัติถูกจุดให้ติดขึ้นแล้ว กลุ่มผู้ต่อต้านจึงคิดว่าแคทนิสนี่แหละคือ “สัญลักษณ์” ในการปลุกระดมมวลชนให้เห็นคล้อยตามไปกับพวกเขา กับการเลิกจำนนต่อการปกครองแบบเอารัดเอาเปรียบของแคปปิตอล 

 

อย่างไรก็ตามความสนุกอีกอย่างนอกจากฉากแอ็คชั่นในหนังภาคนี้แล้ว จะเห็นได้ว่าเขต 13 (กลุ่มผู้ต่อต้านและแคปปิตอล(ประธานาธิบดีสโนว์) ใช้กระบวนการที่เรียกว่า Propaganda หรือโฆษณาชวนเชื่อในการสร้าง “เหตุผล” เพื่อโน้มน้าวมวลชนของตัวเองให้คล้อยตามไปกับสิ่งที่พวกเขาพยายามจะสื่อสารออกไป โดยที่เขต 13 ก็พยายามจะใช้แคทนิสเป็นม็อกกิ้งเจย์สัญลักษณ์แห่งอิสรภาพในการปลดเปลื้องพันธนาการจากแคปปิตอล ในขณะที่ทางแคปปิตอลเองก็ใช้เชลยอย่างพีต้าในการพูดให้ทางแคทนิสใจอ่อนและเกิดความไม่มั่นใจเพราะเป็นห่วงในสวัสดิภาพของคนรัก(หรือเพื่อนรัก) อย่างพีต้า




สำหรับตัวละครอย่างประธานาธิบดี อัลม่า คอยน์(จูลี่แอนน์ มัวร์) ก็จัดได้ว่าเธอเป็นตัวละครที่ต้องแบกรับความรับผิดชอบครั้งยิ่งใหญ่ในการปกป้องผู้คนที่เธอต้องดูแล อย่างที่ทราบกันดีว่าเขต 13 นั้นในความเข้าใจของแคปปิตอลนั้นมันเป็นเขตที่หายสาบสูญไปจากแผนที่เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งการถ่ายทอดบท “ผู้นำ” ของจูลี่ก็เรียกได้ว่าทรงพลังไม่แพ้กับแคทนิสเลยเช่นกัน 

 

นอกเหนือไปจากนี้ 1 ในฉากที่ดีที่สุดและชวนลุ้นระทึกที่สุดในเรื่องก็คงหนีไม่พ้นฉากเข้าไปชิงตัวประกันที่เรียกได้ว่า ผู้กำกับอย่างฟรานซิส ลอว์เรนซ์สามารถคุมจังหวะในการเร้าอารมณ์ผู้ชมให้ลุ้นตามไปกับทีมหน่วยกล้าตาย(เกล) ในการบุกเข้าไปในตึกของแคปปิตอล ตัดสลับกับการเจรจาถ่วงเวลาระหว่างแคทนิสกับประธานาธิบดีสโนว์ 

 

ภาพรวมของหนังเรียกได้ว่ายังคงดูสนุก แม้ว่าบางส่วนที่เยิ่นเย้อก็สามารถตัดออกไปได้ (แต่เข้าใจเจตนาในการหั่นหนังเป็นสองภาคเพราะปัจจัยหนึ่งก็มาจากเรื่องเงินรายได้) น่าเสียดายที่ไคลแมกซ์ของเรื่องแม้ว่าอาจจะไม่ได้ลุ้นจนตัวโก่ง แต่มันก็อยากจะทำให้ผู้ชมอยากจะชม PART 2 ไวๆ เหมือนกัน 

 

@พริตตี้ปลาสลิด

ยกให้ 3.5 คะแนนจาก 5 คะแนน 

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ วิจารณ์หนัง The Hunger Games: Mockingjay Part 1 : นอกสนามประลอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook