วิจารณ์หนัง The Hundred-Foot Journey: ไปให้ไกล แล้วถามใจตัวเอง

วิจารณ์หนัง The Hundred-Foot Journey: ไปให้ไกล แล้วถามใจตัวเอง

วิจารณ์หนัง The Hundred-Foot Journey: ไปให้ไกล แล้วถามใจตัวเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิจารณ์ The Hundred-Foot Journey

 

 

The Hundred-Foot Journey อาจจะกล่าวได้ว่ามันเป็นหนังสูตรสำเร็จที่เราได้ชมมานับครั้งไม่ถ้วน แรกเริ่มของหนังมันอาจจะเล่าเรื่องราวการแข่งขันกันของร้านอาหารสองร้าน แต่ยิ่งไปกว่านั้นคือการเล่าชีวิตและความทะเยอทะยานของตัวเองหลังจากที่เขาค้นพบพรสวรรค์ในการทำอาหารของตัวเอง และการตะกายดาวเพื่อเดินหน้าไปสู่เส้นทางแห่งความสำเร็จของเขาก็เริ่มต้นขึ้น

 

ฮัสซัน คาดัม (มานิช ดายัล) เด็กหนุ่มผู้เป็นอัจฉริยะด้านอาหาร ที่มีฝีมือด้านการทำอาหารเป็นเลิศ ครอบครัวคาดัม ที่มีผู้เป็นพ่อเป็นผู้นำครอบครัวอย่าง ปาปาคาดัม (ออม ปูรี) โบกมือลาอินเดีย ประเทศบ้านเกิดของพวกเขา และลงหลักปักฐานในหมู่บ้านแซงต์ แอนโทนิน โนเบล วัล ที่แสนเงียบสงบ ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส หมู่บ้านแห่งนี้ ที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ มีทิวทัศน์ที่งดงามและเลิศหรู ช่างเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบในการลงหลักปักฐานและเปิดภัตตาคารอาหารอินเดีย เมซอง มุมไบ ซะเหลือเกิน จนกระทั่งเชฟหญิงมือหนึ่งจากเลอ ซอล เปลอเรอร์ ภัตตาคารฝรั่งเศสระดับมิชลิน ที่บริหารงานโดย มาดามมัลลอรี (เฮเลน มิเรน) ได้ยินข่าวเรื่องนี้

 

การประท้วงที่เย็นชาของเธอที่มีต่อภัตตาคารอาหารอินเดียแห่งใหม่ที่อยู่ห่างจากภัตตาคารของเธอเพียงแค่ร้อยฟุต ได้ทวีความรุนแรงกลายเป็นสงครามที่ดุเดือดระหว่างภัตตาคารทั้งสองแห่งจนกระทั่งความรักที่ฮัสซันมีต่ออาหารฝรั่งเศสชั้นสูง และ มาร์เกอร์รีต(ชาร์ล็อต เลอ บอน) ผู้ช่วยเชฟคนสวยของมาดามมัลลอรี ผสมผสานกับพรสวรรค์ที่แสนเอร็ดอร่อยของเขา ได้ร่ายเวทมนตร์ให้บังเกิดขึ้นระหว่างสองวัฒนธรรม และแต่งแต้มแซงต์ แอนโทนิน ให้หอมหวลไปด้วยรสชาติชีวิตที่แม้กระทั่งมาดามมัลลอรียังไม่อาจเมินเฉยได้ ท้ายที่สุด มาดามมัลลอรี ก็ยอมรับในพรสวรรค์ของคู่แข่งด้านการทำอาหารของเธอ และยินดีที่จะคอยให้คำแนะนำกับฮัสซัน

 

อาจจะกล่าวได้ว่าหนังถูกแบ่งออกไป 2 พาร์ทได้เกือบชัดเจน ในช่วงแรกของเรื่องเราจะได้มองเห็นการต่อสู้ระหว่างสองวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามด้วยความทะเยอทะยานและอยากจะทำให้อาหารอินเดียกลายเป็นที่รู้จักของคนฝรั่งเศสของปาปาคาดัม ทำให้เขาลงทุนในการเรียกลูกค้าเข้าร้านและหา “จุดเด่น” ของอาหารตน ก่อนที่จะค่อยๆทำให้มันกลายเป็นกระแสปากต่อปากจนลูกค้าเดินเข้าร้านของตัวเองอย่างไม่ขาดสาย



ชื่อเรื่อง The Hundred-Foot Journey นั้นสามารถกล่าวได้เลยว่ามันมีความหมายที่ชัดเจนว่า “แค่ 100 ฟุตเท่านั้น ที่จะได้พบกับประสบการณ์ใหม่” ระยะ 100 ฟุตของหนังก็คือระยะห่างระหว่างร้านอาหารทั้งสองซึ่งแน่นอนว่าแต่ละฝั่งเป็นตัวแทนของอาหารจากโลกตะวันตกและโลกตะวันออกอย่างชัดเจน ความพยายามในการหาความรู้เพิ่มเติมในการทำอาหารฝรั่งเศสของฮัดซันก็ทำให้ตัวละครนี้เป็นมากกว่าเด็กหนุ่มมีพรสวรรค์

 

ไม่เพียงเท่านี้หลังจากที่เราได้เห็นการเคี่ยวกรำและฝึกฝนฝีมือของฮัดซันภายใต้การดูแลของมาดามมัลลอรีแล้วเราจะเข้าใจได้ทันทีว่า นอกจากพรสวรรค์แล้วพรแสวงก็กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฮัดซันได้รับ “ตั๋วเดินทาง” ไปสู่ความสำเร็จในการเป็นเชฟที่โลกต้องการตัว เมื่อเขาได้รับโอกาสให้เขาไปฝึกฝีมือในสถาบันทำอาหารเชิงนวัตกรรมที่สามารถดัดแปลงอาหารให้กลายเป็นงานศิลปะ เขาก็เหมือนกลายเป็น “คนใหม่” ที่เริ่มห่างเหินจากรากเหง้าของตัวเอง

 

และเมื่อวันหนึ่งที่เขาประสบความสำเร็จมาก แต่หัวใจของเขาก็เริ่มตั้งคำถามว่าความสำเร็จของเขามีค่าแค่ไหน เมื่อไม่ได้อยู่ใกล้กับคนรัก .......

คนรักในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแค่นางเอกของเรื่องอย่างมาร์เกอร์รีตเท่านั้น แต่ยังหมายถึงครอบครัวของเขาด้วย 

 

@พริตตี้ปลาสลิด

มอบให้ 4 คะแนนจาก 5 คะแนน

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ ของ วิจารณ์หนัง The Hundred-Foot Journey: ไปให้ไกล แล้วถามใจตัวเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook