ดูแล้วบอกต่อ วิจารณ์หนัง The Girl on the Train ความพร่าเลือนของชีวิต

ดูแล้วบอกต่อ วิจารณ์หนัง The Girl on the Train ความพร่าเลือนของชีวิต

ดูแล้วบอกต่อ วิจารณ์หนัง The Girl on the Train ความพร่าเลือนของชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากนวนิยายระทึกขวัญ สืบสวนสอบสวนของ พอลลา ฮอว์กินส์ บอกเล่าเรื่องราวของ ราเชล วัตสัน (บลันท์) แม่ม่ายขี้เมาที่หย่าขาดจากสามีเก่า ชีวิตประจำวันหลังจากนั้น ระหว่างที่เธอต้องเดินทางไปทำงานที่แมนฮัตตัน เธอมักจะมองออกไปนอกหน้าต่างรถไฟอย่างเงียบๆ ทุกเช้าและเย็น เธอจะรำลึกถึงความทรงจำจากภายนอกบ้านที่ครั้งหนึ่งเธอเคยอยู่ร่วมกับ ทอม (จัสติน เธอโรซ์) ผู้กลายเป็นอดีตสามีของเธอไปแล้ว และตอนนี้ เขาก็ใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านหลังนั้นกับแอนนา (รีเบ็กก้า เฟอร์กูสัน) ภรรยาใหม่และลูกของเขา

เพื่อทำให้ชีวิตตัวเองมีอะไร ชีวิตของราเชลกับการมองออกไปนอกหน้าต่าง เธอเริ่มหมกมุ่นกับบ้าน บ้านเลขที่ 15 ถนนเบ็กเก็ตต์ ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านที่เธอเคยอาศัยอยู่เพียงไม่กี่หลัง ที่นั่น คู่รักที่ดูเหมือนจะสมบูรณ์แบบ เมแกน (ฮาเลย์ เบนเน็ตต์) และสก็อตต์ (ลุค อีวานส์) หลายเดือนกับชีวิตอันน่าเบื่อ ราเชลมีเหล้าเป็นเพื่อนแท้ เธอฝันถึงชีวิตคู่ที่สมบูรณ์แบบ โรแมนติกในแบบที่เธออยากจะเป็นกับทอม แต่แล้ววันหนึ่งเธอก็เห็นเมแกนอยู่กับผู้ชายอื่น และหลังจากนั้นไม่นานเมแกนก็หายตัวไปอย่างลึกลับ จนเธอสงสัยว่าเธออาจจะตายไปแล้ว แต่ความทรงจำอันพร่าเลือนของเรเชลทำให้เธอไม่แน่ใจว่าจริงๆแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบางทีเรเชลอาจจะมีส่วนกับการหายไปของเมแกนก็เป็นได้ 

วิธีการเล่าเรื่องของ The Girl on the Train เปิดเรื่องมาด้วยการใช้วิธีการแบบเดียวกับเวอร์ชั่นนิยาย นั่นคือการเล่าเรื่องราวของ “ผู้หญิง” แต่ละคน โดยเริ่มจาก ราเชล – เมแกน – แอนนา ซึ่งหนังก็จะใช้วิธีการตัดสลับเหตุการณ์ โดยเรียงลำดับเวลา และแทรกฉากย้อนอดีตมาเป็นครั้งคราว เพื่อให้คนดูปะติดปะต่อเรื่องราวทีละเล็กทีละน้อย 

ในมุมมองของตัวละครแต่ละตัวก็มองสิ่งที่ตนรับรู้ต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน และแน่นอนว่าสิ่งที่หนังพยายามทำให้คนดูรู้ ก็เป็นสิ่งที่หนังพยายามชักจูงให้คนดูไขว้เขว จับทางไม่ถูกเพื่อจะหักมุมและเฉลยเรื่องราวในตอนท้าย ซึ่ง The Girl on the Train ใช้ “ความทรงจำ” ของราเชลเป็นปมสำคัญ เพราะความึนเมาจากเหล้าทำให้เธอไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ในช่วงเวลาที่สำคัญที่อาจจะหมายถึง ช่วงเวลาที่เธออาจจะได้พบกับเมแกนเป็นครั้งสุดท้าย ยิ่งไปกว่านั้นภาพ “จินตนาการ” ของเธอก็ถูกหลอมรวมเข้ากับภาพความจริงที่เกิดขึ้นจนเธอเองก็แยกแยะไม่ออก 

สิ่งที่น่าจะเป็นจุดที่น่าจดจำที่สุดสำหรับหนัง The Girl on the Train นั้นก็คือการแสดงของสาวเอมิลี่ บลันท์ ที่ทำให้คนดูเชื่ออย่างสนิทใจว่าเธอเป็นสาวขี้เมา มีปัญหาชีวิตได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เธอทำให้ตัวละครที่คนดูอาจจะรู้สึกรำคาญได้ทันที ถ้าหากเธอไม่สามารถทำให้เราเห็นด้านที่เปราะบางของตัวละครนี้ผ่านสายตาและการแสดงออก ต้องบอกว่าเธอ “เอาอยู่” ตลอดต้นจนจบเรื่องเลยทีเดียว

@พริตตี้ปลาสลิด

3 คะแนนจาก 5 คะแนน 

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ ดูแล้วบอกต่อ วิจารณ์หนัง The Girl on the Train ความพร่าเลือนของชีวิต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook