ดูแล้วบอกต่อ War For The Planet Of The Apes เมื่อเรามองในมุมของมนุษย์

ดูแล้วบอกต่อ War For The Planet Of The Apes เมื่อเรามองในมุมของมนุษย์

ดูแล้วบอกต่อ War For The Planet Of The Apes เมื่อเรามองในมุมของมนุษย์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

 

มีการเปิดเผยไคลแมกซ์ของเรื่องในย่อหน้าสุดท้าย

 

          เหตุการณ์ใน War For The Planet Of The Apes ถูกเล่าต่อจากหนัง Dawn of the Planet of the Apes ซึ่งทำให้เราเห็นว่าสายสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานรนั้นขาดสะบั้นลงอย่างสิ้นเชิง เมื่อมนุษย์เลือกจะประกาศสงครามชนิดที่อีกเผ่าพันธุ์หนึ่ง อย่างฝูงวานรต้องตายเหี้ยนกันไปข้างนึง

 

            ความน่าสนใจประการสำคัญของ War For The Planet Of The Apes คือการให้ความสำคัญกับตัวละครอย่างซีซาร์ (แอนดี เซอร์คิส) ในการพาคนดูไปเจาะลึกถึงสภาพจิตใจของเขา ซึ่งจะว่าไปแล้วหนังภาคนี้ก็จัดได้ว่าค่อนข้างขี้โกงคนดูด้วยการให้เราเห็นอกเห็นใจฝั่งวานรมากเสียจน เขียนบทให้ตัวละครมนุษย์นั้น “แห้งแล้งความเป็นคน” มองโลกในแง่ร้ายเสียจนคนดูต้องเทคะแนนให้ฝั่งลิงเสียจนไม่ค่อยเป็นธรรมเท่าไหร่นัก

 

 

 

 

            งานเขียนนี้จึงเลือกนำเสนอมุมมองของมวลมนุษย์เองว่าอะไรคือแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ตัวละครในเรื่องมีพฤติกรรมเช่นนั้น หลังจากความโกรธแค้น ชิงชังที่ต้นเหตุของปรากฏการณ์มนุษยชาติเข้าขั้นสูญพันธุ์นั้น เหตุผลหนึ่งเกิดขึ้นจากความผิดพลาดของการทดลองในห้องแล็ป หรือจะว่ากันตามตรงก็คือมนุษย์นั้นพยายามจะละเมิดกฎเกณฑ์ของธรรมชาติด้วยการสร้างวัคซีนในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ (เหตุการณ์ในหนังภาคแรก) และการที่ไวรัสไข้หวัดลิง (Simian Flu) เกิดการระบาดในระดับไม่สามารถหายามารักษาได้ ยิ่งทำให้มนุษย์รู้สึก “ตกเป็นรอง” เผ่าพันธุ์ลิง

 

            ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี่เองที่หยิบมาอธิบายเหตุการณ์หนังภาคนี้ได้ดีที่สุด ว่าทำไมมนุษย์ถึงพยายามจะกำจัดลิงให้ราบกันไปข้าง เพราะมนุษย์นั้นครอบครองโลกใบนี้มานานเสียจน เราคิดกันเองไปเองว่ามนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จนหลงลืมไปว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ต่างก็มีวิวัฒนาการมาทั้งสิ้น ถ้าย้อนกลับไปเมื่อกว่าหลายล้านปี เมื่อมนุษย์ยังไม่ถือกำเนิดขึ้น ไดโนเสาร์คือสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ก่อนจะพัฒนามาสู่ยุคสมัยที่วานรครอบครองพิภพ และหลังจากนั้นเมื่อมนุษย์ถือกำเนิดขึ้น ทุกอย่างก็ถูกใช้ทรัพยากรในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างเต็มที่

 

            บางทีมนุษย์ก็ผยองในเผ่าพันธุ์ของตนเองเสียจนลืมไปว่า วันหนึ่งอารยธรรมของตนก็อาจจะมีวันสิ้นสุดลงได้ พฤติกรรมของตัวละครมนุษย์ในหนังเรื่องนี้คือความพยายามเฮือกสุดท้าย ในการปกปักษ์รักษาสิ่งที่พวกเขาเลือกจะ “มอง” ตัวเองว่ายังเป็นผู้กุมอำนาจทางอารยธรรม หาใช่พวก “ลิง” ที่เป็นผลิตผลจากการทดลอง แต่ความจองหองและหวาดกลัวในอนาคตข้างหน้า ว่าสักวันหนึ่งเมื่อบรรดาวานรที่มีความคิดความอ่านเป็นของตนเองจะ “ฉลาด” และสร้างอารยธรรมของตนให้เจริญกว่ามนุษย์ การเลือกจะกำจัดอีกฝ่ายหนึ่งจึงเหมือนเป็นทางออกเพียงทางเดียวของผู้พันจอมเหี้ยมโหด (วู้ดดี ฮาร์เรลสัน) เลือกจะปฏิบัติ

 

            แต่สิ่งที่ผู้พันเลือกปฏิบัติกับฝูงลิงในเรื่องนั้น ก็จัดได้ว่าป่าเถื่อน โหดร้ายไม่แพ้กับยุคนาซีครองเมือง ฝูงลิงแทบจะไม่ต่างอะไรจากแรงงานชาวยิว (ถ้ามีฉากจับลิงไปห้องรมก๊าซคงจะทำให้คนดูรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ขึ้นมาทันที) สิ่งนี้บอกอะไรกับคนดู มันกำลังบอกว่ามนุษย์กำลังทำให้ประวัติศาสตร์นั้นซ้ำรอย และมนุษย์ก็ไม่เคยจดจำว่าทุกครั้งที่เกิดสงครามนั้น ไม่เคยสร้างผลดีให้กับฝ่ายใดเลย

 

 

ผลของสงครามใน War For The Planet Of The Apes มนุษย์อย่างเด็กน้อยโนวา (เอไมอาห์ มิลเลอร์) ผู้อยู่ตรงกลางสรมภูมิครั้งนี้ จึงเป็นประจักษ์พยานที่สำคัญว่าครั้งหนึ่งเธอคือมนุษย์ที่ได้รับการช่วยเหลือโดยฝูงวานร และรอดชีวิตอยู่ภายใต้สังคมวานรในท้ายที่สุด เธอซากอารยธรรมของมนุษย์ที่ยังหลงเหลือและรอดชีวิตอยู่ ….. ท่ามกลางสภาพอารยธรรมที่เปลี่ยนมือไปแล้ว ในตอนท้ายเรื่อง

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ ดูแล้วบอกต่อ War For The Planet Of The Apes เมื่อเรามองในมุมของมนุษย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook